เหรียญพระพุทธนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพ

เหรียญพระพุทธนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพ รหัส vp193
เหรียญพระพุทธนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพ

เหรียญพระพุทธนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพ
คำอธิบาย

พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน
สร้างพระพุทธนวราชบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทาน พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐาน หลังวัตถุมงคลพระพุทธนวราชบพิตร พระราชทานไฟพระฤกษ์ในพิธีพุทธาภิเษก

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แห่งวงการพระเครื่องที่ต้องจาลึก 
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้

ในวโรกาสอันเป็นมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานไฟพระฤกษ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จแทนพระองค์ ในการ ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ พุทธศักดิ์ราช ๒๕๕๔

พระพุทธนวราชบพิตร

ย้อนไปเมื่อปี พุทธศักดิ์ราช ๒๕๓๐ ประวิติศาสตร์ต้องจาลึกวันสัมคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาติ เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เองพร้อมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการ ทรงเททองหล่อพระพุทธนวราชบพิตร องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพวรวิหาร

พระพุทธนวราชบพิตร
พระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริสร้างพระราชทานเป็นพระประจำจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากรปั้นหุ่นพระพุทธนวราชบพิตร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานและทรงพระพุทธลักษณะด้วยพระองค์เองจนพอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าให้เททองหล่อพระพุทธรูป เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2509
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรให้เป็นพระพุทธรูป ประธานในพระอุโบสถวัดตรีทพเทพเพียงแห่งเดียว และ เป็นองค์ที่ใหญ่ที่สุด นับเป็นพระประธานศักดิ์สิทธิ์ประจำรัชกาล และ เป็นพระพุทธรูป สำคัญประจำรัชกาลด้วย 
ขออัญเชิญ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2510 ความตอนหนึ่งว่า “...พระพุทธนวราชบพิตรองค์นี้ นอกจากจะถือว่าเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของประเทศไทย และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงได้บรรจุพระพิมพ์ที่ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าว และนำมามอบให้แก่ท่านด้วยตนเอง...”
“ขออานุภาพแห่งพระพุทธนวราชบพิตร จงปกปักรักษาท่านให้พ้นจากทุกข์ภัยทุกๆประการ บันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี มีความก้าวหน้ารุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และมีความสมัครสมานกัน ในอันที่จะร่วมกันสร้างเสริมความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมืองของเราสืบไป”
การสร้างองค์ จำลองพระพุทธนวราชบพิตร หลัง ภ.ป.ร. ครั้งสำคัญในแผ่นดินครั้งนี้ ได้มีพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพวรวิหาร เบื้องหน้าพระพุทธนวราชบพิตรองค์ประธานในพระอุโบสถ

พิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธนวราชบพิตร

ณ พระอุโบสถ์ วัดตรีทศเทพ

เบื้องหน้า องค์พระพุทธนวราชบพิตร องค์ประธานใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ โดยกราบอารธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ดังรายนามพระเกจิอาจารย์ที่กราบอาราธนาอธิษฐานจิต บรรจุพุทธคุณ ในพิธีต่อไปนี้

สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร 
ประธานจุดไฟพระฤกษ์พระราชทาน

พระเกจิอาจารย์ ที่กราบอาราธนาทำพิธีมหาพุทธาภิเษก

๑.ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีราวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม ประธานนั่งปรก ๒.สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร ๓. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ๔. เจ้าคุณจวบวัดระฆังฯ ๕.เจ้าคุณแวว วัดพนัญเชิง ๖.เจ้าคุณเปี๊ยก วัดเขียนเขต๗.เจ้าคุณแย้ม วัดไร่ขิง ๘. เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร ๙. เจ้าคุณสมชาย วัดระฆังฯ ๑๐.เจ้าคุณชวลิต วัดราชสิงขร ๑๑.เจ้าคุณทองสืบ วัดอินทรวิหาร ๑๒.หลวงพ่อรวย วัดตะโก ๑๓.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน ๑๔.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว ๑๕.หลวงปู่ชาญ วัดบางบ่อ ๑๖.หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ๑๗.หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง ๑๘.หลวงพ่อวาส วัดสะพานสูง ๑๙.หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม ๒๐.หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ ๒๑.หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ๒๒.หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ ๒๓.หลวงพ่อติ๋ว วัดมณีชลขันธ์ ๒๔.หลวงปู่นะ วัดหนองบัว ๒๕.หลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเคียน ๒๖.หลวงพ่อสาคร วัดหนองกลับ ๒๗.พ่อท่านนวล วัดไสหร้า ๒๘.อาจารย์แดง วัดไร่ ๒๙.หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้ ๓๐.หลวงพ่อผาด วัดไร่ ๓๑.หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย ๓๒.หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน ๓๓.หลวงพ่อลออ วัดหนองหลวง ๓๔.หลวงพ่อแขก วัดสุนทรประดิษฐ์ ๓๕.หลวงปู่เกลี้ยง วัดโนนแกด ๓๖.หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม ๓๗.หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ๓๘.หลวงปู่หงส์ สุสานทุ่งมน ๓๙.หลวงปู่โสฬส วัดโคกอู่ทอง ๔๐.หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค ๔๑.หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม ๔๒.หลวงปู่สุภา วัดสีลสุภาราม ๔๓.หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหี่ยง ๔๔.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ ๔๕. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน ๔๖.หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์ ๔๗.เจ้าคุณทอง วัดปลดสัตว์ ๔๘.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว ๔๙.หลวงพ่อสุรศักดิ์ วัดประดู่ ๕๐.หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี ๕๑.หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ ๕๒.หลวงพ่อเงิน วัดเกาะแก้ว ๕๓. ญาท่านโทน วัดบ้านพับ ๕๔.หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน ๕๕.หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา ๕๖.หลวงพ่อทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ๕๗.หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน ๕๘.หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก ๕๙.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม ๖๐.หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ ๖๑.พ่อท่านอาด วัดตะพุนทอง ๖๒.พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ๖๓.หลวงพ่อสม วัดโพธิ์ทอง ๖๔.ครูบาชุ่ม วัดวังมุ่ย ๖๕.หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ ๖๖.หลวงพ่อช้วน วัดขวาง ๖๗.หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร ๖๘.ครูบาบุดดา วัดหนองบัวคำ ๖๙.ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ๗๐.หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม ๗๑.หลวงปู่นอง วัดวังศรีทอง ๗๒.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู ๗๓.พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน ๗๔.หลวงปู่ไข่ วัดลำนาว ๗๕.หลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร ๗๖.หลวงพ่อใจ วัดพระยาญาติ ๗๗.หลวงพ่อแป๋ว วัดดาวเรือง ๗๘.หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปี่นเกลียว ๗๙.หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ ๘๐.หลวงพ่อผล วัดอินทาราม ๘๑.หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง ๘๒.หลวงพ่อเจิด วัดระฆังฯ ๘๓.หลวงพ่อสวง วัดระฆังฯ ๘๔.พระอาจารย์น้อย วัดก่อน้อย อุบลฯ ๘๕.ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ๘๖.หลวงพ่อเมตตา วัดกุฎีทอง ๘๗.หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส ๘๘.หลวงพ่อสิริ วัดตาล ๘๙.หลวงพ่อบัว วัดศรีบูรพาราม ๙๐.พระอาจารย์หมู วัดทรงธรรม ๙๑.หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม ๙๒.หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ ๙๓.หลวงพ่อเอิบ วัดหนองหม้อแกง ๙๔. พระครูอนุกูลพัฒนกิจ วัดภาษี กรุงเทพฯ ๙๕.หลวงพ่อพระครูพิพัฒนานุกูล วัดใหม่อมตรส ๙๖.พระอาจารย์วราห์ วัดโพธิ์ทอง