สมเด็จ หลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ

สมเด็จ หลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ

4500 ฿
สมเด็จ หลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ
คำอธิบาย

พระสมเด็จหลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ เกาะพงัน สุราษฎร์ธานี พิมพ์ 3 ชั้น ซุ้มคู่ เข่าตรง จัดเป็นหนึ่งในพิมมาตรฐาน เนื้อ ฟูฟู หลวมๆแบบฉบับพระที่สร้างในยุคต้น-ยุคกลาง มวลสารชัดเจนพุทธคุณเทียบ ชั้นพระหลักล้านหลวงปู่กล่าวไว้ว่า (ผงกูไม่เป็นสองรองใคร) ต้นตำนาน พระผงมวลสารแดนใต้ พระเนื้อผงมหาเสน่ห์ ที่เป็นหนึ่ง ไม่เป็นสองรองใคร หรือที่เรียกกันติดปากว่า"ขุนแผนแดนใต้" พระสมเด็จปู่จันทร์ยุคแรกๆ ตัวจริงหายากมาก พระสมเด็จหลวงปู่จันทร์ เป็นพระเครื่องที่ขึ้นชือลือชาและยอดนิยมอีกองค์หนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและนิยมมากในปัจจุบันสอดคล้องแห่งการเอื้ออำนวยผลประจักษ์ในพุทธคุณที่เมตตามหานิยม และเสน่ห์แก่ผู้พบเห็นเป็นพระเนื้อผงหนึ่งเดียวในจังหวัดสุราษฎร์ที่มีปฐมเหตุแห่งการสร้างและตำรับการลบผงที่ไม่เหมือนกับพระผงทั่วๆโดยหลวงปู่จันทร์ได้เรียนมาจากหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวันผู้ประทับรอยเท้าไว้บนหินและทิ้งร่องรอบไว้จนปัจจุบันสำหรับกรรมวิธีสร้างพระหลวงปู่นั้นท่านจะหาวันดีและเป็นที่รู้กันบริเวณรอบชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณหาดโฉลกหลำคือเมื่อลมพัดในบริเวณรอบๆจะมีกลิ่นหอมจากมวลสารเกสรดอกไม้และว่านยาต่างๆที่หลวงพ่อสร้างและผงปถมังที่หลวงพ่อลบทะลุผ่านกระดานฉนวนโดยท่านจะทำเป็นคราวๆไปถือเป็นการรู้กันว่าวันไหนหลวงปู่ผสมผงจะมีกลิ่นหอมตลบอบอวนไปทั่วทั้งบริเวณรอบหาดเมือได้ผงที่หลวงปู่ลบและมวลสารต่างๆแล้วหลวงปู่จะบริกรรมคาถาในเวลากลางคืนเมื่อในยามวิกาลถือเป็นยามสงบโดยการขึงผ้าขาวไว้บนเพดานโบสถ์และเรียกผงขึ้นที่ด้านล่างขึ้นไปอยู่บนผ้าขาวนั้นถือเป็นการสำเร็จในการเตรียมผงไว้ที่จะสร้างสมเด็จ จัดเป็นพระสมเด็จที่ครบเครื่องในพุทธคุณและทรงคุณค่าแห่งศิลปะในมนต์เสน่ห์แห่งพระเครื่องพื้นที่ภาคใต้ที่กำลังจะกลายเป็นพระเครื่องยอดนิยมเมื่อได้บูชาและสัมผัสกับตนเอง เพราะพระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์ ปรากฏอิทธิคุณในด้านต่างๆ ทั้ง คงกระพัน มหาอุตม์ เมตตา มหาเสน่ห์ ฯลฯ แต่ที่โด่งดังเป็นอันมากก็คือ เรื่องมหาเสน่ห์ ส่วนองค์นี้เนื้อหามวลสารติดชัด พระฟอร์มหนา (1.2 ซม. ปกติจะเจอประมาณ 8-9 มม.) หายากน่าเก็บน่าใช้ละคราฟ ***********หลวงปู่จันทร์ ขันติโก วัดโฉลกหลำเกาะพงัน หลวงพ่อมีนามเดิมว่า จันทร์ นามสกุล จันทร์อินทร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 10 ปีชวด ประมาณ 2443 ราวปี พ.ศ. 2456 เมื่ออายุประมาณ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมะเดื่อหวาน โดยมี หลวงพ่อเพชร วชิโร (พระครูวิบูลย์ธรรมสาร) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชแล้วสามเณรจันทร์ก็ติดตามไปอยู่รับใช้และเล่าเรียนอักขระวิธี กรรมฐานวิปัสสนา กับหลวงพ่อเพชรที่วัดเขาน้อย การได้ศึกษาฝึกฝนกับหลวงพ่อเพชรซึ่งเป็นพระที่เคร่งครัดเชี่ยวชาญชำนาญการ สอนวิปัสสนากรรมฐาน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เสมือนเป็นการช่วยสร้างพื้นฐานอันแน่นหนาในเรื่อง เอกัคตาจิต ให้ท่านตั้งแต่วัยเยาว์ รวมตลอดทั้งเคล็ดวิธีอุปเท่ห์ในทางเวทวิทยาคมบางประการด้วย เมื่อมีพื้นฐานที่แน่นหนา มั่นคง เหมาะสม ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เติบโต เจริญก้าวหน้าได้ดียิ่งในอนาคต สามเณรจันทร์ได้อยู่ศึกษาปฏิบัติ ปลูกสร้างพื้นฐานกับหลวงพ่อเพชร สุดยอดพระเถราจารย์ของเกาะพะงันเป็นเวลากว่า 2 พรรษาแล้วก็ลาสิกขาออกไปเผชิญโลกต่อไป ครั้นอายุครบอุปสมบทท่านได้บวชเป็นพระภิกษุ ตามประเพณีของลูกผู้ชายชาวไทย ณ วัดใหม่ (วัดศรีทวีป) อดีตเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุยรูปที่สาม เป็นพระอุปัชฌาย์บวชอยู่ 2-3 พรรษาก็สละเพศบรรพชิต ลาสิกขา แล้วท่านก็มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางหีดนุ้ย เป็นชาวใต้ เกาะพะงัน มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ 1. นายเจน จันทร์อินทร์ 2. นางเจิม ชำนาญกิจ ครอบครัวของท่านตั้งอยู่ที่ บ้านบ่อผุด เกาะสมุย หลังจากภรรยาของท่านถึงแก่กรรม ท่านก็เกิดเบื่อหน่ายฆราวาสวิสัย ตระหนักในไตรลักษณ์ที่ว่า “สรรพสิ่งล้วน เปลี่ยนแปร ไม่แท้เที่ยง ทุกสิ่งเพียง ของสมมุติ อย่ายึดมั่น มิใช่ตัว ใช่ตนจริง ทุกสิ่งนั้น ล้วนแปลงผัน ล้วนทุกข์ท้น มิทนทาน” ประมาณ พ.ศ.2489 ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่งด้วยเจตจำนงแน่วแน่ที่จะยึดถือ เป็นตัวตาย ตั้งใจที่จะให้ได้มีผ้าเหลืองห่อหุ้มศพ เป็นการบวชตลอดชีวิตที่จะไม่ลาสิกขาออกมาอีก ครั้งนี้หลวงพ่อจันทร์ อุปสมบทที่วัดสำเร็จ เกาะสมุยโดยมี พระครูทีปาจารคุณารักษ์ (มี อินทสุวัณโณ) อดีตเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย รูปที่ 4 เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า “ขันติโก” เมื่อหลวงพ่อจันทร์บวชแล้ว ได้มาอยู่ปฎิบัติธรรมที่บ้านโฉลกหลำ สถานที่ที่ท่านพำนักเป็นเพียงที่พักสงฆ์ เรียกว่า ที่พักสงฆ์เจริญสุข ซึ่งมีเพียงศาลาหลังเล็กๆ สำหรับที่พระภิกษุพักอาศัย ครั้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 บ้านโฉลกหลำ ได้กลายเป็นท่าเรือประมง ที่บรรดาเรือประมงซึ่งจับปลาอยู่บริเวณใกล้เคียงมักมาขายส่งปลาให้แก่เรือ รับซื้อที่เรียกว่า เรือห้องเย็น รวมทั้งอาศัยเป็นที่กำบังลมพักผ่อนและเติมเสบียงในช่วงฤดูที่มิใช่หน้าลม ว่าว ครั้นถึงยามฤดูลมว่าวประมาณระหว่างเดือน (จันทรคติ) 12 ถึงเดือน 2 อ่าวโฉลกหลำเป็นจุดรับลมว่าว ภายในอ่าวมีคลื่นลมแรง เหล่าเรือประมงจะต้องใช้อ่าวแห่งอื่น เช่น อ่าวน้ำตกธารเสด็จ เป็นท่าเรือ ด้วยความเป็นท่าเรือดังกล่าว ทำให้โฉลกหลำเป็นแหล่งที่มีเงินสะพัด เป็นแหล่งงาน เป็นที่แสวงโชค เป็นแหล่งธุรกิจที่สำคัญของเกาะพะงันในขณะนั้น ก่อนที่เกาะพะงันกลายเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้ เมื่อหลวงพ่อจันทร์ มาพำนักอยู่ยังที่พักสงฆ์เจริญสุขแล้ว ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ รวมทั้งอุโบสถ กระทั่งทำที่พักสงฆ์ได้กลายเป็นวัดตามกฎหมาย โดยมีประกาศตั้งวัดเมื่อ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2519 เรียกว่า สำนักสงฆ์โฉลกหลำ เมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2520 จึงเป็นสภาพเป็นวัดโดยบริบูรณ์ และใช้ชื่อว่า ”วัด” ได้ตามกฎหมายแล้วทางวัดก็ได้จัดงานผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ. 2522 หลวงพ่อจันทร์ ขันติโก จึงเป็นพลังสำคัญในการสร้างวัดและเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโหลกหลำ เดิมทีเดียวหลวงพ่อจันทร์เขียนผงลบผงเก็บไว้สำหรับผสมแป้งหอมทาตัว เมื่อผู้ใช้หลายคนได้ประจักษ์ถึงสรรพคุณในทางเมตตามหาเสน่ห์ มหานิยม มีประสบการณ์บ่อยๆ เข้า ผู้ศรัทธาเลยขอให้ท่านทำเป็นพระ เมื่อผู้ศรัทธารบเร้าเรียกร้องมากๆ เข้าในที่สุดหลวงพ่อจันทร์ก็ได้ตอบสนองคำร้องขอของผู้ศรัทธา จึงทำพระรูปสี่เหลี่ยมอย่างที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระสมเด็จ ออกมา โดยพระรุ่นแรกของท่านสร้างออกมาประมาณหลังจาก พ.ศ. 2510 อนึ่ง หลวงพ่อจบ เรืองโรจน์ เคยบอกว่า หลวงพ่อจันทร์เป็นผู้มีความสามารถชำนาญใน การทำยันต์เต่าเรือน มาก โดยได้ศึกษาเคล็ดวิธีจากตำราตาขาวฉบับที่หลวงพ่อเพชร วชิโร เคยศึกษา นายสามารถ เรืองโรจน์ สมัยเมื่อเป็นนักเรียนชั้นประถมและเป็นเด็กวัดด้วย เคยแอบดูหลวงพ่อจันทร์ทำผงพระในกุฏิเวลากลางคืน เห็นท่านขึงผ้าขาวไว้ผืนหนึ่งที่หน้าโต๊ะบูชา ความสูงของผ้าอยู่ระดับศีรษะ (เวลานั่ง) แล้วท่านก็ก้มลงเขียนอักขระในกระดานชนวนที่วางอยู่ด้านล่างของผ้าขาว แท่งดินสอที่ใช้เขียนในอักขระเป็นแท่งผงปั้นที่ท่านได้จัดทำขึ้นเอง เขียนไปบริกรรมไปจนหมดแท่งผง แล้วท่านก็ลุกขึ้นทำการกวาดผงจากข้างบนผ้าขาวที่ขึงไว้ด้านบน นายสามารถยืนยันว่า ไม่เคยเห็นท่านกวาดผงจากกระดานชนวน เพราะผงได้ลอยขึ้นไปอยู่ทางด้านบนของผ้าขาวที่ขึงไว้ข้างบนซึ่งไม่ทราบว่า ลอยขึ้นไปได้อย่างไรกัน นับว่าหลวงพ่อจันทร์มีกรรมวิธีทำผงที่แปลกกว่าใคร เพราะโดยส่วนมากพระคณาจารย์ต่างๆ มักใช้ผงพระจากกระดานชนวน หรือที่ทะลุลงใต้กระดานชนวน แต่หลวงพ่อจันทร์กลับใช้ผงที่ลอยทะลุผ้าขึ้นไปอยู่บนด้านบนของผ้าที่ขึงไว้ เหนือศีรษะอีกทีหนึ่ง เป็นเรื่องอัศจรรย์มาก พระสมเด็จหลวงพ่อจันทร์ได้สร้างออกมาเป็นระยะตลอดชีวิตของท่าน การจำแนกระหว่างรุ่นแรกกับรุ่นหลังๆ มักดูกันที่เนื้อหา ความอ่อน-แก่ของปูน คือพระรุ่นหลังๆ จะมีความแก่ปูนมากกว่ารุ่นแรกๆ วรรณะของพระยุคแรกมักมีสีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน หนึกนุ่มกว่า กับทั้งมีร่องรอยของผงถ้วยนรสิงห์บดผสมอยู่ด้วย แต่โดยส่วนมากแล้ว นักเล่นหามักไม่ค่อยจำแนกรุ่น เพราะถือว่าเจตนาในการสร้างของหลวงพ่อ ก็มิได้ตั้งเกณฑ์กำหนดรุ่นไว้ และถือว่าพระยุคแรกหรือยุคหลังมีความแตกต่างกันนิดหน่อยของเนื้อหาขององค์ พระเท่านั้น ส่วนสรรพคุณอิทธิคุณนั้นมิได้แตกต่างกันแต่อย่างใด พระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง อาทิเช่น 1. พระสมเด็จฐานสามชั้น จำแนกออกได้เป็นสามแบบ กล่าวคือ 1.1 พิมพ์ใหญ่ มีขนาดประมาณ 2.6 x 3.9 ซม. ส่วนหนาประมาณ 0.5 ซม. เส้นซุ้มคู่และที่ระหว่างเส้นซุ้มกับขอบองค์พระมีลวดลายเป็นเส้นนูน 1.2 พิมพ์กลาง องค์พระจะอยู่ภายในครอบแก้ว หรือเส้นซุ้มเดี่ยว 1.3 พิมพ์เล็ก องค์พระจะอยู่ภายในเส้นซุ้มเดี่ยว เช่น เดียวกับพิมพ์กลาง 2. พระสมเด็จฐานเจ็ดชั้น เป็นพระที่มีน้อย ไม่ค่อยจะได้พบเห็น 3. พระสมเด็จฐานเก้าชั้น องค์พระอยู่ภายในเส้นซุ้มเดี่ยว 4. พระสมเด็จพิมพ์แหวกม่าน 5. พิมพ์ขุนแผน 6. พิมพ์นางพญา มีหลายแบบ 7. พิมพ์ปิดตา ในแต่ละพิมพ์ มีขนาดแตกต่างกันอยู่บ้าง และมีรูปแบบศิลปะย่อยๆ แตกต่างกันออกไปอีก สรุปรวมจำแนกอย่างละเอียดแล้ว พระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์มีจำนวนประมาณ 30 กว่าพิมพ์ พระของท่านส่วนมากเป็นพระเนื้อผง มีเนื้อว่านอยู่เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น วิธีการสร้างพระผงของหลวงพ่อจันทร์ ท่านจะทำออกมาเรื่อยๆ คือเมื่อท่านเขียน ผงนอโม ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ฯลฯ ได้จำนวนพอสมควรแล้วก็เอามาผสมกับมวลสารอื่นๆ เช่น เกสรดอกไม้ ผงถ้วยนรสิงห์บดละเอียด แร่เหล็กไหลเกาะพะงัน ที่ตกทอดมาจากหลวงพ่อเพชร (เฉพาะยุคแรกเท่านั้น) ข้าวก้นบาตร กล้วยหอม ฯลฯ แล้วตำให้อยู่ในตัวครกเล็กโดยส่วนมาก โดยเฉพาะในยุดแรกๆ หลวงพ่อจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวท่านเองหมดทุกขั้นตอน ทั้งการผสม การตำ การกดพิมพ์ ภายหลังมีพระเณรมาช่วยตำ ช่วยกดพิมพ์บ้าง แต่ก็อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิดของท่าน แม่พิมพ์ที่ใช้สร้างพระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์ โดยส่วนมากมักเป็นแม่พิมพ์ที่แกะจากหินลับมีดโกน ซึ่งมีความเปราะ แตกหักง่าย ใช้ได้ไม่นานก็มักชำรุดต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์ใหม่ เป็นเหตุให้ พระของท่านมีรูปแบบศิลปะพิมพ์ทรงแยกย่อยได้ประมาณกว่า 30 พิมพ์ โดยมีรูปลักษณ์หลักอยู่ 4 แบบ คือ สมเด็จสามชั้น เจ็ดชั้น เก้าชั้น และพิมพ์แหวกม่าน ดังกล่าวแล้ว ครั้นพิมพ์พระสมเด็จแล้ว ท่านก็เลือกฤกษ์ยามตามพิธี เริ่มทำการปลุกเสกโดยลำพัง ติดต่อกันไปเรื่อยๆ ตามอุปเท่ห์กลวิธีที่เล่าเรียนมา กระทั่งถูกต้องครบถ้วนตามกระบวนการตำราพิธี มั่นใจในอิทธิคุณ อันสัมฤทธิ์แล้ว ก็จักนำมาออกแจกจ่ายให้ญาติโยม ด้วยเหตุนี้ ยุคสมัยอ่าวโหลกหลำมีสถานภาพเป็นท่าเรือประมงสำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก เรียกประมงจากจังหวัดต่างๆ ได้แวะเวียนอาศัยพักหลบลม จำหน่ายปลา พักผ่อนและเติมเสบียงอยู่เสมอ พวกเรือประมง (ยุคนั้น) โดยมากเป็นคนในแถบที่ชาวเกาะเรียกว่า “พวกเมืองใน” คือพวกชาวไทยที่พูดสำเนียงภาคกลางในจังหวัดชายทะเลละแวกปริมณฑลของกรุงเทพ ฯ เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ ”พวกวันอ๋อ” หรือ พวกตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี รวมทั้งที่มาจากเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กับปากน้ำหลังสวนชุมพร จึงทำให้พระสมเด็จหลวงพ่อจันทร์จำนวนมากได้รับการแจกจ่ายไปอยู่ตามจังหวัด ชายทะเลเหล่านั้น พระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์ ปรากฏอิทธิคุณในด้านต่างๆ ทั้ง คงกระพัน มหาอุตม์ เมตตา มหาเสน่ห์ ฯลฯ แต่ที่โด่งดังเป็นอันมากก็คือ เรื่องมหาเสน่ห์ แต่ ณ ที่นี้ จะของดเว้นกล่าวถึงในส่วนรายละเอียด เพราะเกรงว่าอาจมีผลข้างเคียงในทางที่กลายเป็นการชี้โพรงให้กระรอก เพราะการบันทึกเรื่องราวไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสิ่งตีพิมพ์นั้น เป็นสิ่งที่ควรอยู่ถาวร ทั้งสามารถแพร่หลายไปได้โดยกว้าง มิอาจจำกัด ควบคุม จำแนกรับรู้ข่าวสารได้ ไม่ได้มีข้อจำกัดเหมือนการเล่าด้วยวาจา ที่อาจเลือกเฟ้นผู้รับมีวงจำกัดในการเผยแพร่ และคงอยู่แต่ในเพียงความทรงจำ อีกทั้งการนำอิทธิคุณ ความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ของวัตถุบูชาแทนพระรัตนตรัย ไปใช้ในการเสริมสนองขุนเลี้ยงตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ และการกระทำข่มเหงกดขี่ บีบบังคับ เอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ย่อมมิใช่เจตนารมณ์ของการเกิดแห่งวัตถุบูชา และมิใช่วัตถุประสงค์ของท่านผู้สร้าง ผู้เสกวัตถุบูชา เหล่านั้น อิทธิคุณความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ของวัตถุบูชาแทนพระรัตนตรัยควรมีไว้ สำหรับเพื่อการป้องกัน ปกป้องให้รอดปลอดพ้นจากทุจริตมิจฉากรรม จำกัดกรรมที่มิควรประสงค์มิให้บังเกิดหรือเสริมสนองเอื้ออำนวยกิจอันควรแก่ การณ์เท่านั้น ด้วยข้อจำกัดของการสื่อสารที่มิอาจเฟ้นผู้รับการสื่อสารได้ เพื่อมิให้เกิดผลข้างเคียงในทางลบ แม้พระสมเด็จของหลวงพ่อจันทร์จักมีประสบการณ์มากมายในทางนี้ ก็ต้องกราบขออภัยที่จำเป็นต้องงดเว้นการกล่าวถึงวิธีการรายละเอียดแห่งการ ปรากฏผลด้านมหาเสน่ห์ของสมเด็จหลวงพ่อจันทร์ไว้ ณ ที่นี้ อนึ่ง หลวงพ่อจันทร์ ได้มีข้อห้ามประการสำคัญข้อหนึ่ง สำหรับผู้ใช้พระของท่านนั่นคือ ห้ามอมพระ (ห้ามเอาพระใส่ปากอม)