รูปถ่ายเก่า หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด

รูปถ่ายเก่า หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด

9999on-order.gif
รูปถ่ายเก่า หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
คำอธิบาย

ภาพที่ระลึก ในพิธีสรงน้ำ หลวงพ่อโอภาสี วัดอาศรมบางมด หลัง หลวงพ่อกบติดทองเก่า สร้าง 249 กว่าๆ หลวงพ่อโอภาสี เป็นศิษย์เอกรูปหนึ่งของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา จ.นครนายก ซึ่งสำเร็จทางเตโชกสิณ มีนามเดิมว่า “ชวน” เป็นชาว จ.นครศรีธรรมราช บุตรของนายมิตร นางล้วน นามสกุล “มลิวัลย์” อายุได้ 5 ขวบ บิดาและมารดานำไปฝากไว้กับอาจารย์ ณ สำนักวัดใต้ เพื่อที่จะได้เล่าเรียนหนังสือ ก่อนจะนำไปฝากบวชเป็นสามเณร ณ สำนักวัดโพธิ์ โดยมีท่านอาจารย์ที่วัดนี้เป็นพระอุปัชฌาย์ เล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่เป็นเวลานานพอสมควรจนความรู้แตกฉาน จึงได้ลาบิดาและมารดาเดินทางมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ศึกษาได้ระยะหนึ่งจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเล่าเรียนทางด้านพระพุทธศาสนาในวิชาการต่างๆ เป็นเวลานานหลายปี จึงได้เข้าสอบไล่แปลพระปริยัติธรรม สอบได้เปรียญ 3 ประโยค กระทั่งถึงเปรียญ 7 ประโยคตามลำดับ ท่านมหาชวนได้เป็นที่เคารพของประชาชน ทำให้คนรู้จักท่านมากขึ้น เพราะเห็นว่าการปฏิบัติภารกิจประจำวันของท่านเริ่มเปลี่ยนไป เพราะแทนที่จะนั่งหลับตาภาวนาเหมือนกับพระเกจิอาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกลับบูชาเพลิงพร้อมกันไปด้วย ไม่ว่าของสิ่งนั้นจะเป็นทรัพย์สินเงินทองมีค่าใดๆ ก็ถูกนำเอาไปโยนเข้ากองไฟเสียหมด ไม่มีการเสียดายด้วยประการใดทั้งสิ้น แม้ท่านจะเผาไปมากเท่าใด ก็มีผู้ศรัทธานำไปถวายให้เผามากยิ่งขึ้น สิ่งของที่ท่านนำไปบูชาเพลิงนั้น หากท่านผู้ใดต้องการจะขอ ท่านก็ยินดีให้ การกระทำของท่าน ประชาชนจึงนำไปวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วกรุง บางคนก็มองในแง่อัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยพบเห็น บางคนก็คิดว่าท่านวิกลจริต เพราะได้เห็นท่านมุ่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยจะจุดธูปเทียนบูชาพระมีควันตลบอบอวนไปทั่วห้อง ทำให้บางคนคิดว่าไฟกำลังไหม้กุฏิของท่าน แต่เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นท่านนั่งสงบอยู่ที่หน้าบูชาพระในลักษณะของผู้ที่กำลังทำสมาธิ จึงจะเข้าใจว่าท่านเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยที่ตัวท่านเองไม่มีความกังวลใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะยึดมั่นความสันโดษเป็นที่ตั้ง และท่านจะฉันอาหารเพียงมื้อเพลมื้อเดียวเท่านั้น สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ที่หน้าโต๊ะบูชาในกุฏิของท่านและบริเวณรอบๆ จะเต็มไปด้วยพระบรมรูปหล่อ และพระบรมรูปฉายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำนวนมากมาย ทุกวันเมื่อฉันเพลเสร็จท่านจะเข้าห้องเพื่อทำสมาธินานจนกระทั่งถึง 4 โมงเย็น หลังจากนั้นก็จะไปทำวัตรสวดมนต์เย็นในโบสถ์ เสร็จแล้วก็จะกลับเข้าห้องบำเพ็ญภาวนาทำสมาธิต่อไปจนเช้าของอีกวันหนึ่ง เมื่อท่านปฏิบัติเช่นนี้นานเข้า ได้มีผู้ที่เคารพไปหา ท่านมักจะกล่าวเสมอๆ ว่า “มหาชวนนั้นตายไปแล้ว อาตมาไม่ใช่มหาชวน” แต่ถ้าถามถึงอายุ ก็จะได้รับคำตอบว่า “อายุของอาตมานั้นไม่ทราบ แต่เวลานี้ 60 ปีเศษแล้ว” ทุกคนที่ได้ฟังต่างก็แปลกใจและตีความหมายไม่ออก จึงทำให้มีผู้เชื่อกันไปว่า หลวงพ่อโอกาสีมิใช่ตัวของมหาชวนโดยแท้จริง แต่เป็นวิญญาณของเทพเจ้าหรือผู้วิเศษองค์หนึ่งที่มาอาศัยร่างของมหาชวนอยู่เท่านั้น ประมาณปีพ.ศ. 2484 หลวงพ่อโอภาสีได้ออกจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร นัยว่าเสด็จพระอุปัชฌาย์ไม่ทรงโปรดการกระทำของท่าน และได้จาริกธุดงค์ไปยังจังหวัดต่างๆ จนพบกับองค์พจนสุนทร พระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในการค้นคว้าเรื่องวิญญาณ และได้รับคำแนะนำให้ไปอยู่ที่ ต.บางมด อ.บางขุนเทียนซึ่งมีศาลเจ้าอยู่ด้วย เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวก็เกิดความพอใจและได้ปักกลดลงในที่ของนายเนียม คหบดี ซึ่งเป็นผู้ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาคนหนึ่งในย่านนั้น ในตอนกลางคืน ท่านได้ใช้ความสงบวิเวกในบริเวณสวนนี้ทำกิจของท่านด้วยการนั่งหลับตาพนมมือเข้าสมาธิอยู่ใกล้กับกองไฟที่ท่านสุมไว้อย่างสว่างไสว ต่อมาเจ้าของสวนและชาวบ้านละแวกนั้นได้เรียกชื่อท่านว่า “หลวงพ่อโอภาสี” และได้พร้อมใจกันสร้างกุฏิเล็กๆ ถวายเพื่อป้องกันแดดฝน แต่ท่านก็ไม่ได้สนใจมากนัก และก็ยังคงเคร่งครัดการสุมไฟไว้ตลอดทั้งคืนเช่นเดิม ในเวลาต่อมา การก่อไฟของหลวงพ่อได้กลายมาเป็นการเผาจตุปัจจัยสิ่งของต่างๆ ที่ประชาชนนำมาถวาย เป็นต้นว่า ธนบัตรนับจำนวนหมื่นๆ ผ้าที่ประชาชนนำมาทอดเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกระป๋อง หรือแม้แต่เครื่องประดับต่างๆ ก็โยนเข้ากองเพลิงทั้งสิ้น เหล่าชาวบ้านที่รู้จุดประสงค์ของท่านก็ต่างนำน้ำมันก๊าซไปถวายเพื่อใช้ในการเผาปัจจัยต่างๆ นั่นเอง ซึ่งหลวงพ่อเคยกล่าวว่า “โดยปกติ แสงไฟที่เผาผลาญสรรพสิ่งอื่นๆ จนมอดไหม้เป็นเถ้าถ่านไปนั้นก็จัดเป็นธาตุที่มีความร้อนสูงอยู่แล้ว แต่ทว่าจิตใจของมนุษย์เรายังมีความร้อนยิ่งไปกว่า กล่าวคือ ร้อนด้วยความโลภ โกรธและหลง ไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น การที่อาตมานำเอาจตุปัจจัยไทยทานทั้งหลายที่มีผู้นำมาถวายมาเผาเสียเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นพุทธบูชาขอให้ช่วยดับความร้อนในกายใจของมนุษย์ให้หมดไป หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ เผากิเลสทั้งหลายให้หมดไปนั่นเอง” หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพไปเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2498 เป็นเวลาเกือบ 60 ปีแล้ว แต่สังขารยังมิได้มีการเผา ยังคงอยู่ในสวนอาศรมบางมด มีพุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธาไปกราบไหว้บูชามิได้ขาด ประหนึ่งท่านยังมีชีวิตอยู่