พระนาคปรกสิริสัตมงคลลป.บุญเพ็งรหัสvp010

พระผงนาคปรก สิริสัตตมงคล หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดปาวิเวกธรรม ขอนแก่น- LP Boonpeng Kuppako Khon Kaen
พระผงนาคปรก สิริสัตตมงคล หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดปาวิเวกธรรม ขอนแก่น

9999on-order.gif
img_2098
คำอธิบาย

พระผงนาคปรก สิริสัตตมงคล หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดปาวิเวกธรรม ขอนแก่น พระนักปฏิบัติ ผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นเนื้อนาบุญของชาวพุทธ ที่ควรแก่การสักการบูชา หลวงพ่อท่านมีนามก่อนอุปสมบทว่า บุญเพ็ง เหล่าหงษา ท่านถือกำเนิดจากโยมบิดาคือนายเอี่ยม โยมมารดาคือนางคง ในวันมาฆบูชา ปีมะโรง จ.ศ.๑๒๙๐ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๑ ที่บ้านบัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม มีพี่น้องร่วมท้อง ๗ คน เป็นชาย ๕ คน หญิง ๒ คน ครอบครัวของหลวงพ่อมีอาชีพทำไร่ทำนาตามสภาพของคนในชนบท มีฐานะพอมีอันจะกินตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านบัวบาน หลวงพ่อมีโอกาสศึกษาถึงชั้นประถมปีที่ ๔ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยควบคุมดูแล การหลบลูกระเบิดสมัยสงครามอินโดจีน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งแต่ท่านเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีความฉลาดเฉลียว และมั่นใจในตนเองมาตั้งแต่เด็ก ในการประกอบสัมมาชีพของท่านในแต่ละวัน ท่านก็ยังคิดเมตตาสงสารวัวควายที่ท่านใช้งาน และคิดสลดสังเวชการวนเวียนดำเนินชีวิตของผู้คนรอบข้างที่ทุกข์ยาก สู้ภัยธรรมชาติปีแล้วปีเล่า แม้ว่าหลวงพ่อท่านอยากจะบวช แต่ก็ต้องรับผิดชอบในการทำงานแทนบรรดาพี่ชายซึ่งบวชกันไปหมด จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้มีโอกาสบวช ก่อนออกบวชท่านก็ได้ทดแทนคุณบิดามารดา ด้วยการสร้างบ้านให้บิดามารดาและพี่น้องด้วยตัวท่านเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่หาไม้จนกระทั่งสำเร็จเป็นบ้านอยู่อาศัยได้ มูลเหตุที่หลวงพ่อท่านมีความตั้งใจอยากจะบวชเป็นพระแทนการสร้างครอบครัวเฉกเช่นชาวบ้านอื่น ก็คงเป็นเพราะท่านเกิดมาในตระกูลที่ฝักใฝ่ในทางศีลธรรม ประกอบกับพี่ชายของท่านคือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็ได้บรรพชาตั้งแต่หลวงพ่อท่านยังเป็นเด็ก จนได้เป็นพระกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธบริษัทอย่างกว้างขวาง หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม แม่ทัพธรรม พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์หลายรูปได้เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มาธุดงค์กรรมฐานที่โคกเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรมในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นป่ารก เป็นป่าช้าผีดุ แล้วก็มีหลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ภูมี หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่กงมา หลวงปู่คำดี ฯลฯ มาอยู่รับการอบรมธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่สิงห์ พอออกพรรษาเข้าหน้าแล้ง บรรดาท่านเหล่านี้ก็พากันไปแสวงหาที่วิเวกภาวนา โดย หลวงปู่เทสก์ ก็ได้ไปแสวงหาที่วิเวกกรรมฐานทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น คือไปทางจังหวัดมหาสารคาม ท่านได้ไปพักอยู่ที่ป่าช้าหัวหนองตอกแป้น บ้านบัวบาน อำเภอเชียงยืน และได้อบรมหลักการปฏิบัติธรรมแก่ญาติโยมบ้านบัวบาน รวมทั้งโยมบิดา มารดา ของหลวงพ่อท่านด้วย โยมบิดา มารดาของหลวงพ่อมีความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เทสก์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้มอบบุตรชายคนโตคือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) เป็นลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปธุดงค์กรรมฐานตามสถานที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้อุปสมบท และ ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ภูมี วัดคีรีวัลย์ อำเภอท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา จนเกิดความมั่นใจในความรู้ความเข้าใจในธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็นึกถึงญาติพี่น้องทางบ้าน จึงกลับมานำญาติพี่น้องบวช และได้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน ในปี ๒๔๘๕ เพื่อโปรดโยมบิดามารดาและญาติพี่น้อง ในขณะนั้นหลวงพ่อท่านมีอายุประมาณ ๑๔-๑๕ ปี จึงต้องรับภาระการประกอบอาชีพดูแลครอบครัวแทนบรรดาพี่ๆ ที่ออกบวชไป นี้จึงเป็นเหตุให้ท่านไม่เคยมีโอกาสบรรพชาเป็นสามเณร ในการประกอบอาชีพ หลวงพ่อท่านก็สามารถทำได้ดีกว่าชาวบ้านทั่วไป ท่านรู้จักประกอบอาชีพหารายได้นอกฤดูทำนา จนมีเงินทองมาจุนเจือครอบครัวอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ หลวงพ่อยังมีพรสวรรค์ในการรักษาโรคโดยวิธีการพื้นบ้าน ตามที่โยมบิดาท่านสอนให้ เช่น รักษาตาต้อ คางทูม ฯลฯ เป็นเหตุให้ท่านสอนให้พวกลูกศิษย์ใช้คาถาและพลังจิตรักษาโรคมาจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านบอกว่า เอาไว้ช่วยตนเองและสงเคราะห์คนอื่น ยามที่ไม่อาจรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันได้ หลวงพ่อท่านอุปสมบทในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๒ ที่วัดศรีจันทร ์(ธรรมยุต) จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระพิศาลสารคุณ เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "กัปปโก" ซึ่งแปลว่า "ผู้สำเร็จ" เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน เป็นเวลา ๒ ปี ในระหว่างนั้น โยมบิดาได้ป่วย และเสียชีวิต ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ หลังจากจัดการฌาปนกิจศพโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อจึงได้เดินทางมาศึกษาปริยัติธรรม และพำนักยังวัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนถึงเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ โยมมารดาเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดป่าวิเวกธรรม เพื่อจัดการงานศพของโยมมารดา และท่านก็ไม่กลับไปศึกษาปริยัติธรรมอีก ขณะนั้นท่านได้วิทยฐานะเป็น นักธรรมโท ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ พระพี่ชายคือ พระครูศีลสารวิมล ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม หรือวัดเหล่างา หลวงพ่อท่านจึงจำพรรษาที่วัดเทพนิมิต บ้านบัวบานเพียงองค์เดียว เป็นเวลา ๕ ปี ต่อมาจึงได้ติดตามพระพี่ชายมาจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๙๙ ระหว่างนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปธุดงค์ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไปทางโคราช และอรัญญประเทศ จนกระทั่งข้ามไปยังประเทศกัมพูชา ระหว่างทางท่านก็ได้ผจญกับสัตว์ร้ายและโรคภัยสารพัด และยังได้มีโอกาสช่วยเหลือรักษาโรคภัยให้แก่ชาวบ้าน หลวงพ่อเล่าว่าการเดินธุดงค์ส่วนมากใช้เท้าเปล่าและเอารองเท้าพาดบ่า เพราะรองเท้าตัดจากหนังควายแห้งใส่แล้วกัดเท้าเจ็บ แต่ถ้าเข้าป่ามีหนามจึงนำออกมาสวม จนกระทั่ง ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เดินทางมายังจังหวัดขอนแก่นและแวะเยี่ยมพระครูศีลสารวิมล หลวงพ่อจึงได้มีโอกาสฟังธรรมจากหลวงปู่สิม เป็นเหตุให้ท่านมีโอกาสเข้าใจในเรื่องการภาวนาที่ลึกซึ้งมากขึ้น และหลวงปู่สิมได้ชวนหลวงพ่อให้ไปอยู่เชียงใหม่ด้วยกัน หลังจากหลวงปู่สิมเดินทางกลับไปแล้ว หลวงพ่อจึงตัดสินใจเดินทางติดตามไปโดยลำพัง หลวงพ่อเล่าว่าท่านขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพฯ ไปแวะพักค้างคืนที่วัดบรมนิวาส เชิงสะพานกษัตริย์ศึก แล้วนั่งรถไฟต่อไปถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ หลวงพ่อได้รับการฝึกหัดอบรมกรรมฐานจากหลวงปู่สิม และได้ติดตามหลวงปู่สิมไปธุดงค์กรรมฐานที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นป่าที่มีสัตว์ร้ายอยู่มาก แต่หลวงปู่สิมก็นำท่านบุกป่าฝ่าดงไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรม โดยอาศัยความสงบของจิตและ "พุทโธ" เป็นเครื่องต่อสู้กับความทุรกันดาร และสัตว์ร้ายนานาชนิด ต่อมาหลวงพ่อยังได้มีโอกาสไปศึกษาธรรมะกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และได้สั่งสมความรู้ และไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาธรรมะจากหลวงปู่ตื้อ รวมทั้งด้านอิทธิวิธีซึ่งหลวงปู่ตื้อท่านมีความเป็นเลิศ ยามว่างหลวงพ่อท่านจะเล่าให้บรรดาสานุศิษย์ฟังถึงความสงบเย็น ความมุ่งมั่น อดทน ความกล้าหาญ เมตตา และเสียสละของหลวงปู่สิม และปฏิภาณ ไหวพริบ อิทธิฤทธิ์ ของหลวงปู่ตื้อ ซึ่งหลวงพ่อท่านรับมาปฏิบัติจนเท่าทุกวันนี้ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ในระหว่างนี้เป็นเวลาประมาณ ๔ ปี หลวงพ่อท่านได้ใช้ช่วงเวลาออกพรรษาในฤดูแล้ง ธุดงค์กรรมฐานไปตามป่าเขาในภาคเหนือตอนบน ได้ประสบกับสิ่งลึกลับมหัศจรรย์มากมาย และต้องต่อสู้กับภัยอันตรายนานัปการ ตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ของท่านได้ดำเนินไปก่อนแล้ว และระหว่างธุดงค์กรรมฐานท่านก็ยังได้สั่งสอนอบรมภาวนาให้พระภิกษุที่เดินทางไปด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ หลวงพ่อได้ไปจำพรรษาที่วัดคำหวายยาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๒ ปี เพื่อไปวิเวกภาวนา เนื่องจากวัดคำหวายยางเป็นวัดที่มีความทุรกันดาร และขึ้นชื่อเรื่องผีดุ ที่วัดนี้หลวงพ่อก็ได้อบรมภาวนาให้ลูกศิษย์หลายคนให้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และบางคนยังใช้พลังจิตช่วยเหลือผู้คนที่ประสบปัญหาต่าง ๆ มาจนปัจจุบัน ในด้านการแสดงพระธรรมเทศนาอบรมพุทธบริษัท หลวงพ่อท่านพัฒนาเทคนิคเฉพาะตัวของท่านตั้งแต่ครั้งบวชใหม่ ๆ ซึ่งยังมีความประหม่าอยู่มาก แต่ก็ต้องเทศน์ตามโอกาสและประเพณีอย่างไรก็ตามจากไหวพริบปฏิภาณของท่าน และจากการฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ในสมัยนั้น ซึ่งแสดงตามงานต่าง ๆ เกือบทุกคืน นอกจากนี้พระพี่ชาย คือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็เป็นนักเทศน์ที่มีสำนวนโวหารไพเราะ จับใจ ญาติโยมเป็นอันมาก รวมทั้งจากการติดตามรับฟังการแสดงธรรม และการแก้ปัญหาธรรมะของครูบาอาจารย์ มี หลวงปู่สิม และหลวงปู่ตื้อ เป็นอาทิ ทำให้หลวงพ่อท่านมีความเป็นเลิศในการเป็นนักเทศน์ อีกประการหนึ่ง ในปี พุทธศักราช ๒๕๐๘ หลวงพ่อได้มีโอกาสไปร่วมงานศพพระเถระที่จังหวัดสงขลา และได้รับนิมนต์ขึ้นเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ทั้งที่อาพาธด้วยไข้หวัด แต่กระนั้นท่านก็เทศน์ได้ดีจนกระทั้งหลวงปู่สิม ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานของท่านเองออกปากชมว่าเทศน์ดี ญาติโยมจากวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งไปร่วมงานในครั้งนั้นเกิดความประทับใจในปฏิภาณของท่านยิ่งนัก จึงกราบอาราธนาท่านไปจำพรรษาที่วัดอโศการามตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ ในระหว่างพรรษาท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาอบรมพุทธบริษัทอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งท่านแสดงธรรมวันละ ๓ รอบ รอบละเกือบ ๒ ชั่วโมง เนื้อหาเผ็ดร้อน ตรงประเด็นเกี่ยวกับจิตตภาวนาล้วน ๆ ไม่มีจืด ไม่มีซ้ำ ลูกศิษย์รุ่นเก่าที่ได้รับการฝึกอบรมจิตตภาวนาในยุคนั้นยังมีปรากฏให้เห็นมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันหลายท่าน ในขณะนั้นหลวงพ่อท่านยังมีอายุไม่ถึง ๔๐ ปี ด้วยซ้ำไป ชื่อเสียงในการเป็นนักเทศน์ของหลวงพ่อขจรขจายมาจนถึงวัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน โดยมีอุบาสก อุบาสิกา นำมาเล่าให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมมธโร) เจ้าอาวาสในขณะนั้นฟัง เมื่อสมเด็จฯ ท่านซักถามถึงชื่อเสียงก็ทราบว่ารู้จักกันอยู่ก่อน จึงให้พระเถระในวัดพระศรีฯ ไปรับมา แต่หลวงพ่อท่านก็ได้ผัดผ่อนไปก่อนเพื่อที่จะออกธุดงค์ไปวิเวกที่จันทบุรี เมื่อเข้าพรรษาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ หลวงพ่อจึงได้มาจำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน และได้อบรมจิตตภาวนาให้แก่ญาติโยมพุทธบริษัททางด้านนี้สลับกับที่วัด อโศการามเป็นเวลาเกือบ ๑๐ พรรษา โดยส่วนใหญ่จะจำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อพูดถึงสองวัดนี้ ท่านจึงพูดว่าเป็นวัดของท่านด้วยความคุ้นเคยอย่างยิ่งกับพระเณรและญาติโยมทั้งหลาย แต่ช่วงหลัง ๆ นี้ท่านเดินทางไปวัดอโศการามน้อยลง เนื่องจากมีปัญหาการจราจรติดขัด เดินทางไปไม่สะดวก ท่านจึงพำนักที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ทุกครั้งที่เดินทางมากรุงเทพฯ โดยในปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสได้จัดกุฎิเฉพาะให้ท่านคือ กุฎิ กี ประยูรหงส์ ด้านหน้าศาลากลางน้ำ การแสดงพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อที่วัดอโศการามจะแสดงอบรมภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา บนวิหาร พร้อมกัน ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติของวัดอโศการาม จะมีการแสดงธรรมบนวิหารทุกคืน และในวันพระยังมีรอบเช้า และรอบบ่ายสาม แต่ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ตามปกติ สมเด็จฯ จะแสดงธรรมเอง อย่างไรก็ตามบางคราวสมเด็จฯได้นิมนต์ให้หลวงพ่อแสดงธรรมแทน โดยสมเด็จฯ นั่งฟังอยู่ด้วย สหธรรมิกของหลวงพ่อที่ติดตามกันไปอยู่ที่วัดพระศรีฯ คือ ท่านพระอาจารย์ไท (ไท ฐานุตตโม) ซึ่งติดตามกันตั้งแต่ครั้งธุดงค์ที่ภาคเหนือ และวัดอโศการามในแต่ละวันจะมีบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะอาจารย์จากวิทยาลัยครู (สถาบันราชภัฏในปัจจุบัน) ด้านหลังวัดมากราบท่านพระอาจารย์ไท และบางครั้งก็มีการสนทนาธรรมกัน ซึ่งท่านเหล่านี้มีปัญหายาก ๆ มาถามอยู่เสมอ แต่หลวงพ่อท่านก็เอาอยู่ด้วยปฏิภาณอันเลิศของท่าน ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งคือในปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ ซึ่งสหรัฐอเมริกาส่งยานอพอลโล ไปบนดวงจันทร์ อาจารย์ที่สถาบันราชภัฏก็แสดงความกังขาว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นแสดงว่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่ามีสวรรค์อยู่ข้างบนก็ไม่จริง เพราะยานอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์แล้วก็ไม่เห็นมีสรรค์อยู่ข้างบนด้วยปฏิภาณ หลวงพ่อก็ตอบไปว่าถ้าอยากรู้ว่าจริงหรือไม่ก็ให้ลองตายดู อาจารย์ท่านนั้นงง หลวงพ่อจึงอธิบายต่อไปว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยบอกว่าสวรรค์เป็นที่ไปของผู้มีชีวิตอยู่ เมื่อตายไปแล้วต่างหาก ท่านจึงว่าไปสู่สุคติสวรรค์ อาจารย์ท่านนั้นจึงยอมจำนน และที่วัดพระศรีมหาธาตุนี้เองที่หลวงพ่อท่านเริ่มอบรมภาวนาให้กับอุบาสก อุบาสิกา กลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งติดตามท่านมาหลังจากการนั่งฟังธรรมบนโบสถ์ ท่านก็ได้ใช้ใต้ถุนกุฏิเป็นที่อบรม ทั้งที่ยุงชุมมาก แต่ผู้อบรมและผู้รับการอบรมก็ไม่ย่อท้อ การอบรมกลุ่มเล็กนี้จะได้ผลดีมากกว่ากลุ่มใหญ่ และท่านเรียกลูกศิษย์รุ่นนั้นของท่านว่า "เหรียญรุ่นแรก" บางท่านก็ได้ติดตามอุปฐากและเป็นลูกศิษย์มาจนปัจจุบัน บางท่านเสียชีวิตไปแล้ว แต่ลูกหลานเหลนก็ยังตามมาเป็นลูกศิษย์อยู่ก็มี เคยมีลูกศิษย์ "เหรียญรุ่นแรก" มากราบหลังจากหายหน้าไปนาน เมื่อหลวงพ่อถามถึงการปฏิบัติจิตว่าเสื่อมหายไปหรือไม่ เพราะติดภาระครอบครัวไม่อาจนั่งภาวนาได้บ่อยครั้งเหมือนแต่ก่อน ลูกศิษย์ท่านนั้นตอบสมกับเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ว่า นามธรรมเสื่อมหายไม่ได้หรอก แนวทางการอบรมภาวนากลุ่มเล็กเช่นนี้ หลวงพ่อท่านดำเนินตามรอยพระพุทธเจ้า ท่านว่า ครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงสั่งสอนลูกศิษย์คราวละไม่กี่คน และให้นั่งภาวนาไปด้วย และก็ฟังเทศน์ไปด้วย ท่านบอกว่า มัวนั่งฟังเทศน์สวดมนต์จนปวดขา แล้วจึงมานั่งภาวนาก็พาลจะนั่งไม่ได้ บางคนเข้ามาถามคำถามเกี่ยวกับการภาวนา ท่านไม่ตอบ แต่ให้นั่งไปเลย และก็ได้เลย เลยไม่ต้องถามอีก ท่านเรียกลูกศิษย์เหล่านี้ว่า "ลูกศิษย์ลอยมา" ซึ่งส่วนใหญ่จะนั่งได้ ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์มา ๒ ปีเศษ ได้รู้จักกับลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าที่เข้ามาฝึกอบรมกับท่าน สำหรับผู้ที่ตั้งใจจริงจังและไม่เคยไปฝึกภาวนาที่อื่นมาก่อนก็มักจะได้กันทุกคน พวกเราพึ่งตนเองได้ในการปฏิบัติ ส่วนจะก้าวไปไกลเพียงใดหรือทางใดก็แล้วแต่อุปนิสัยของเขาแต่ละคนหลวงพ่อไม่ส่งเสริมให้ลูกศิษย์ "บวชก่อนได้" แม้กระทั่งลูกศิษย์ที่เป็นชาย ถ้าอยากบวชท่านก็จะฝึกหัดภาวนาให้มีพื้นฐานดีก่อนจึงให้บวช ส่วนลูกศิษย์ฝ่ายหญิงซึ่งมีมากกว่าฝ่ายชาย ท่านก็ให้ปฏิบัติภาวนาไปและใช้ชีวิตแบบปุถุชน อีกทั้งยังสอนให้นำหลักธรรมและความสงบซึ่งเป็นผลจากการภาวนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย ในช่วงจำพรรษาที่วัดอโศการาม และวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อเข้าสู่ช่วงออกพรรษาหลวงพ่อท่านมักจะไปเที่ยวธุดงค์กรรมฐานบริเวณป่าเขาภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคอีสาน จนมีความชำนาญภูมิประเทศของป่าเขาในประเทศไทยแทบทั้งหมด ยกเว้นภาคใต้เท่านั้นที่หลวงพ่อท่านไม่ค่อยได้ไป ดังนั้น เมื่อเดินทางไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีฎีกานิมนต์ไปแสดงธรรม แม้จะเป็นวัดที่ท่านไม่คุ้นเคย แต่ท่านมีแผนที่อยู่ในสมองของท่าน จึงไม่ค่อยพลาดเรื่องเส้นทางเดินทาง หลังจากสมเด็จพระมหาธีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) มรณภาพในปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ และเสร็จงานศพในราวเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๘ แล้วหลวงพ่อจึงได้เดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม จังหวัดขอนแก่นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพระพี่ชายของท่าน (พระครูศีลสารวิมล) อาพาธและลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ๒๕๑๘ ขณะที่ท่านมีอายุได้ ๔๘ ปี และได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นที่พระครูวิเวกวัฒนาทร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๔ อายุ ๕๔ ปี ดังได้กล่าวถึงในตอนต้นแล้ว วัดป่าวิเวกธรรม เดิมเป็นป่าช้าโคกเหล่างา ในปี พุทธศักราช ๒๔๗๑ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานีมาธุดงค์กรรมฐานทีโคกเหล่างา ด้วยเห็นว่าเป็นป่ารกชัฎมีต้นไม้ใหญ่นานาชนิดหนาแน่น มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากทั้งห่างไกลจากบ้านผู้คน ท่านจึงปักกลดบำเพ็ญภาวนา โดยต่อมาเมื่อมีลูกศิษย์ติดตามมาอีกหลายองค์ ท่านจึงได้สร้างเสนาสนะเป็นวัดเหล่างา หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ในครั้งแรกชาวบ้านบางคนไม่พอใจเพราะหวงสถานที่ถึงขนาดลอบยิงหลวงปู่สิงห์ แต่ยิงไม่ออก ตรงข้ามกับวัดป่าวิเวกธรรมหรือวัดเหล่างาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ซึ่งจะมีคนไข้จากจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดขอนแก่นเข้ารับการรักษา เมื่อเสียชีวิตลง ญาติจะไม่สามารถนำศพกลับไปยังบ้านเกิดได้ก็จะนำมาฝังในวัดนี้ บางครั้งศพมีจำนวนมากการฝังก็ไม่เรียบร้อย สุนัขก็จะคุ้ยศพลากเศษอวัยวะออกมา หลวงพ่อเล่าว่าบางครั้งพระลงศาลาฉัน สุนัขก็จะลากอวัยวะศพผ่านไปเป็นที่อุดจาดตา ท่านจึงพยายามรวบรวมปัจจัยจากลูกศิษย์ลูกหาในกรุงเทพฯ ก่อสร้างเมรุเผาศพขึ้นมา ทำให้ปัญหาดังกล่าวลุล่วงไปได้ และบริเวณป่าช้าก็มีการใช้ประโยชน์น้อยลง พอดีกับวิทยาลัยเทคนิคฯ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดขาดสถานที่ที่จะก่อสร้างสนามฟุตบอล จึงมาขอเมตตาหลวงพ่อท่าน ซึ่งหลวงพ่อท่านก็เมตตาด้วยเห็นแก่เยาวชนซึ่งต้องการสถานที่ออกกำลังกาย ท่านบอกดีกว่าให้เข้าไปติดยาเสพติด ดังนั้นในปัจจุบันมุมด้านตะวันออกของวัดมีสนามฟุตบอลอยู่ เด็กที่มาเล่นฟุตบอลส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่าข้างใต้นั้นมีซากศพกองอยู่จำนวนมาก !! หลวงพ่อท่านเล่าว่าท่านสร้างกุฏิหลังแรกด้วยองค์ท่านเอง และต่อมาท่านได้ดำเนินการสร้างศาลาขันตยาคมานุสรณ์เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล และปฏิบัติธรรม ซึ่งได้ใช้มาจนปัจจุบัน นอกจากนี้ท่านยังได้รวบรวมปัจจัยก่อสร้างอุโบสถขนาดเล็กเพียงพอต่อการใช้เป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ตามแบบสิมอีสานโบราณ นอกจากนั้นท่านสร้างรั้ววัดและอื่น ๆ อีกมาก จนอาจกล่าวได้ว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏที่วัดป่าวิเวกธรรมในปัจจุบันสำเร็จได้ด้วยบารมีของหลวงพ่อท่าน อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อไม่ได้มุ่งก่อสร้างถาวรวัตถุที่หรูหราเกินความจำเป็นหากแต่ยึดหลักความเรียบง่ายเหมาะแก่ประโยชน์ใช้สอย ดังนั้นแม้ว่าเมืองขอนแก่นจะเจริญเติบโตขึ้นจนเป็นเมืองล้อมวัด แต่เมื่อเข้าไปในวัดป่าวิเวกธรรมก็ยังคงมีบรรยากาศของวัดป่าซึ่งมีสิ่งก่อสร้างที่เรียบง่าย และมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอยู่ทั่วไป ในช่วงปี พุทธศักราช ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ถาวรวัตถุในวัดเริ่มทรุดโทรมตามกาลเวลา และไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของสามเณรและลูกศิษย์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาก หลวงพ่อจึงได้เริ่มงานก่อสร้างซ่อมแซมถาวรวัตถุในวัดอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มจากการก่อสร้างศาลาที่พักสำหรับลูกศิษย์จากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดซึ่งเดินทางไปปฏิบัติธรรม ต่อมาท่านได้สร้างหอไตร (ศาลากลางน้ำ) ซ่อมแซมอุโบสถ และซ่อมแซมศาลาขันตยาคมานุสรณ์ ซึ่งก็ค่อยทะยอยสำเร็จลุล่วงไปด้วยบารมีและความเหนื่อยยากของหลวงพ่อท่าน เหตุที่กล่าวว่าด้วยความเหนื่อยยากของหลวงพ่อ ก็เพราะหลวงพ่อไม่ใช่พระที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และไม่ได้มีลูกศิษย์ลูกหาประเภทศรัทธาทำบุญมากนัก เพราะลูกศิษย์ของท่านเป็นบุคคลที่มีทุกข์จึงแสวงหาทางพ้นทุกข์โดยการฝึกภาวนา ดังนั้นจึงไม่มีกำลังที่จะถวายปัจจัยให้หลวงพ่อทีละล้านบาทหรือสิบล้านบาท ดังเช่นครูบาอาจารย์บางองค์ หลวงพ่อจะสั่งวัสดุก่อสร้าง และจ้างแรงงานจากลูกศิษย์หรือใช้แรงพระเณรในวัดเมื่อมีผู้ศรัทธาทำบุญท่านก็ไม่เคยนำไปใช้จ่ายอะไร นอกจากเก็บเล็กผสมน้อยทะยอยจ่ายค่าวัสดุ ค่าแรง ไปจนหมด แต่หลวงพ่อก็ไม่เคยเป็นหนี้ใคร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกมาก แม้จะเหนื่อยยากแต่หลวงพ่อท่านก็ไม่เคยหยุดการดำเนินการสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพุทธศาสนา จริงอยู่การภาวนาชำระจิตใจให้พ้นจากอาสวกิเลสเป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา แต่การสร้างทานบารมีและการรักษาศีล ก็เป็นเปลือกของพระพุทธศาสนา ถ้าต้นไม้ปราศจากเปลือก มีแต่แก่น ก็ไม่อาจยั่งยืนเติบโต แผ่กิ่งก้านสาขามาได้ถึงเกือบสามพันปีเช่นนี้ การที่หลวงพ่อท่านริเริ่มงานก่อสร้างถาวรวัตถุในทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ พระพุทธรูป กุฎิ เสนาสนะ หรือจัดให้มีงานพิธีต่าง ๆ ก็เพื่อเป็นโอกาสให้บรรดาศิษย์ทั้งหลาย และพุทธบริษัท โดยทั่วไปได้มีโอกาสสร้างทานบารมี และศีลบารมีเพื่อประโยชน์ในกาลข้างหน้า ข้าพเจ้าจับใจยิ่งนักในการแสดงธรรมของหลวงพ่อหลาย ๆ ครั้งที่ท่านยกเวสสันดรชาดกมาอ้างอิงคำสอนของท่าน ในตอนที่ มหาเวสสันดรเกลี้ยกล่อมพระกัณหา-ชาลี ให้เดินทางไปกับชูชก เพื่อเป็นการสร้างทานบารมี ในชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า พระศาสดาองค์เอกของเรา ว่า "พระลูกเอ๋ย จงมาเป็นมหาสำเภาทองธรรมชาติ อันนายช่าง ชาญฉลาด จำลองทำด้วยกงแก้วประกำตรึงด้วยเพชรแน่นหนา ฝาระเบิดเปิดช่องน้ำ แก้วไพฑูรย์ กระทำเป็นลาโท โมราสลับ สลักกรอบลาย ลายดอกรัก นวรัตน์ฉลุฉลับเป็นรูปสัตว์ ภาพเพชรนิลแนมแกมหงส์ วิหคตระหนก ตะหนาบคาบลดารัตน์ มังกรกัดกอดแก้วเกี้ยวเป็นก้าน ขดดูสดใส ครั้นสำเร็จแล้วเมื่อใดพระบิดาก็จะทรงเครื่องต้น มงคลพิชัยสำหรับกษัตริย์ ดังจะเอาพระสมาบัติมากระหวัดทรงเป็นสร้อยสังวาลย์อยู่สรรพเสร็จ เอาพระขันตีต่างพระขรรค์เพชรอันคมกล้า สุนทรก็จะย่างเยื้องลงสู่ที่นั่งท้ายเภตราสูงระหง ปักธวนธงเศวตรฉัตร วายุวิเวกพัดอยู่เฉื่อยฉิว สำเภาทองก็จะล่องลิ่วไปตามลม สรรพสัตว์ก็จะชื่นชมโสมนัส ถึงจะเกิดลมกาลพาลระบือพัดคือโลโภ ถึงจะโตสักแสนโตตั้งตีเป็นลูกคลื่นประครืนโครมโถมกระแทก สำเภานี้ก็มิได้วอกแวกวาบหวั่นไหว ก็จะแล่นรี่ระเรื่อยเฉื่อยไปจนถึงเมืองแก้วอันกล่าวแล้วคือ เมืองอมตมหานครนฤพาน พระลูกเอ๋ยจงขึ้นมาช่วยพระบิดาให้เป็นบุตรทานในกาลครั้งเดียวนี้เถิด" ข้าพเจ้ามาได้คิดว่าพระเวสสันดรท่านให้พระราชบุตรพระราชธิดาเป็นสำเภาทองนำท่านไปสู่แดนพระนิพพานและก็สำเภาทองคือพระกัณหา-ชาลีก็ได้ไปถึงแดนพระนิพพานในชาติต่อมาเช่นเดียวกัน ในระยะเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมาหลวงพ่อท่านได้ทำการก่อสร้างวิหารวัดป่ากู่ทอง ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอยู่ห่างจากวัดป่าวิเวกธรรมไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นวิหารขนาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบศาสนพิธีและอบรมภาวนา เช่นเดียวกับวิหารวัดอโศการาม เนื่องจากในปัจจุบันสถานที่วัดป่าวิเวกธรรม แออัด และถูกเมืองล้อมไปหมด ในขณะที่ผู้คนก็หลั่งไหลมาอบรมภาวนากันมากขึ้นโดยตลอด หลวงพ่อท่านจึงสร้างสถานที่สำรองไว้ วัดป่ากู่ทองเป็นวัดเก่าโดยมีซากเจดีย์หรือกู่ทองซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและอยู่ไม่ไกลจากบ้านบัวบาน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงพ่อท่าน การก่อสร้างวิหารนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๓๐ ล้านบาท ขณะนี้สำเร็จไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ขณะที่วิหารวัดกู่ทองยังสร้างไม่เสร็จ ปีที่แล้วผู้อำนวยการ