เหรียญเสมา หลวงปู่ชด วัดซับข่อย สายหลวงพ่อทบ

เหรียญเสมา หลวงปู่ชด วัดซับข่อย  สายหลวงพ่อทบเหรียญเสมา หลวงปู่ชด วัดซับข่อย สายหลวงพ่อทบ

9999on-order.gif
เหรียญเสมา หลวงปู่ชด วัดซับข่อย  สายหลวงพ่อทบเหรียญเสมา หลวงปู่ชด วัดซับข่อย สายหลวงพ่อทบ
คำอธิบาย

ประวัติพระครูวิบูลพัชรญาณ(หลวงปู่ชด ปิยธมโม) เพชรบูรณ์เป็นเมืองที่มีภูเขาล้อมรอบ  มีทัศนียภาพอันงดงาม  รื่นรมย์น่าอยู่เหมาะแก่การแสวงหาความวิเวกเป็นอย่างยิ่ง  พระนักปฏิบัติธรรมจึงนิยมเดินทางมาเพื่อหาความวิเวก  มิได้ขาด

   พระเถระที่มีชื่อเสียงในอดีต  คงไม่มีใครเกินหลวงปู่ทบ  ซึ่งชาวเพชรบูรณ์ต่างถือว่าท่านเป็นเพชรน้ำเอกของจังหวัด  หลังจากที่หลวงปู่ทบ  ท่านได้มรณภาพแล้ว  เมืองเพชรบูรณ์คล้ายกับแสงหิ่งห้อยที่ต้องแสงอาทิตย์  ชั่วขณะหนึ่ง  แต่ต่อมาอีกไม่นานนักเพชรดวงใหม่ก็ฉายแสงออกมา  เหมือนกับคำโบราณที่ว่า  กรุงศรีอยุธยา  ไม่สิ้นคนดี  เพชรดวงที่ว่านี้ก็อยู่ไม่ไกลจากเพชรดวงเดิมเท่าใดนัก  และท่านก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อทบนั่นเอง  เข้าทำนองที่ว่า  ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น  ฉะนั้น

   ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกอย่างจากหลวงปู่ทบ  ในบรรดานักปฏิบัติธรรมด้วยกันแล้ว  ท่านเป็นยอดนักปฏิบัติ  เป็นพระสุปฏิปันโนอย่างแท้จริง  นับตั้งแต่ท่านเข้ามาสู่ร่มผ้ากาสาวพักตร์  ท่านออกเดินธุดงค์มาตลอด  คือ  ท่าถือการเดินธุดงค์ตลอดชีพจวบจนกระทั่งสังขารไม่อำนวยท่านจึงจะหยุดเดินธุดงค์  พระเถระที่ข้าพเจ้า (บรรจง  นุชกลาง)  จะเล่าประวัติย่อให้ท่านทั้งหลายฟังต่อไปนี้  แม้เป็นพระที่ไม่โด่งดังเปรี้ยงป้างอย่างรูปอื่น  เพราะท่านรักสันโดษ  ชอบความวิเวก  เคยมีหนังสือพิมพ์ไปขอประวัติท่านไปลง  แต่ท่านปฏิเสธ  ท่านบอกว่า  เบื่อรับแขก  ไม่อยากดัง  ดังแล้วหาความสงบไม่ได้

          ข้าพเจ้า  มีความภูมิใจมากที่เสนอประวัติพระอริยสงฆ์  รูปหนึ่งที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสอย่างยิ่ง  ตามที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสนทนากับท่าน  พระเถระรูปนี้คือ  พระครูวิบูลพัชรญาณ (หลวงปู่ชด  ปิยธมโม)  ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่า  หลวงปู่มากกว่าชาติภูมิหลวงปู่

  หลวงปู่  ถือกำเนิด  ณ  วันพฤหัสบดีที่  8 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2448  ปีมะเส็ง  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  ซึ่งเป็นวันมาฆะบูชา  เวลาอรุณขึ้นพอดี  พ่อแม่  หลวงปู่ดีใจมาก   เพราะความเชื่อว่า  เด็กที่เกิดในวันนี้  จะเป็นเด็กที่ทำให้พ่อ  แม่  มีความเจริญ  สุขสบายขึ้น  เป็นเด็กที่มีบุญญาธิการ  พ่อแม่  ของหลวงปู่จึงตั้งชื่อให้ว่า  ชด  เพื่อที่ชดเชยสิ่งที่ขาดไปในครอบครัวซึ่งมีฐานะยากจนมาก  นับแต่หลวงปู่เกิดมาก็ทำให้ฐานะทางบ้านกลับดีขึ้นเป็นลำดับ  นับว่าท่านเกิดมาชดเชยสิ่งที่ขาดให้สมกับชื่อท่านโดยแท้

   หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 8 คน  ของนายแช่ม  นางเลี่ยม  อยู่เจริญ  ณ บ้านหัวลำโพง  หมู่ที่ 7  ต.หัวสำโรง  อ.ท่าวุ้ง  จ.ลพบุรี  พ่อแม่มีอาชีพทำนา

การศึกษาในวัยปฐม    หลวงปู่  อายุได้ 8 ขวบ  ได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดหัวสำโรง  เรียนได้แค่ 3 เดือน  ต้องออกมาช่วยพ่อแม่  เลี้ยงดูน้อง ๆ ที่ยังเล็กอยู่  นับว่ามีความกตัญญูตั้งแต่เยาว์วัย  พออายุได้ 13 ปี  ก็ได้เข้ารับการศึกษาอีกครั้งหนึ่งที่วัดหัวสำโรง  ท่านเรียนทั้งภาษาไทย  และภาษาบาลีที่เป็นหนังสือขอม  คราวนี้เรียนนานหน่อยคือ 6 เดือน  ท่านก็สามารถอ่านออกเขียนได้  จนได้รับคำชมเชยจากพระที่สอนว่า  ฉลาดมาก  นับว่าท่านมีสติปัญญาเป็นเลิศทีเดียว  กอรปกับท่านมีความอุตสาหะ  ไม่ย่อท้อ  มาตั้งแต่เด็ก  จึงทำให้ท่านสำเร็จการศึกษาในระยะเวลาอันสั้น

การอุปสมบทครั้งแรก  หลังจากที่ท่านสำเร็จการศึกษามาแล้ว  ก็ออกมาช่วยเหลือพ่อแม่  ทำงานบ้าน  พออายุได้  22 ปี  หลังจากการเป็นทหารเกณฑ์แล้ว  ท่านก็บวชพระเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่  ตามประเพณีของชาวไทยทุกคน  ท่านบวชเป็นครั้งแรกที่  วัดพยัคฆาราม (ซึ่งอาจผิด  ท่านบอกว่าจำไม่ค่อยได้)  โดยมีหลวงพ่อสาย  เป็นพระอุปัชฌาย์  และหลวงพ่อสายนี้เองที่สอนวิทยาคมให้เป็นองค์แรก  เมื่อท่านได้รับรสพระธรรมแล้วมีจิตใจเลื่อมใส  ไม่อยากที่จะสึกออกไป  แต่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องสึกคือ  ในพรรษาที่สอง  โยมพ่อของท่านเกิดป่วยหนัก  และเสียชีวิตลง  โยมแม่ต้องรับภาระหนักเพียงผู้เดียวในครอบครัว  ด้วยความกตัญญู  หลังจากออกพรรษาแล้วท่านจึงสึกออกมาเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน  ทั้ง ๆ ที่แสนจะเสียดายผ้าเหลือง  แต่ก็มีความตั้งใจว่า  วันหนึ่งถ้ามีโอกาส  จะกลับมาบวชใหม่ย้ายที่ทำมาหากิน

 

               หลังจากที่ท่านสึกออกมาแล้ว  ท่านเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว  ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆเรียกว่าต้องทำหน้าที่แทนพ่อ  ในการเลี้ยงดูน้อง ๆ ที่ยังเล็กอยู่  แม่ของท่านรู้ว่าท่านมีความประสงค์จะบวชอีกเลยกลัวว่าครอบครัวจะขาดกำลังสำคัญ  จึงคิดผูกท่านด้วยเครื่องผูกคือเรือน  จึงได้ไปสู่ขอผู้หญิงให้โดยไม่ได้บอกให้ทราบเลย  ท่านจึงจำต้องแต่งงาน  เมื่ออายุ 26 ปี

   หลังจากแต่งงานแล้ว  ได้ย้ายไปอยู่ที่  บ้านห้วยกระเบียน  ต.พิกุล  อ.ชุมแสง  จ.นครสวรรค์  ประกอบอาชีพทำนา  ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนแถบนั้น

ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม

         หลวงปู่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก  หลังจากที่ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ชุมแสงแล้ว  วันหนึ่งหลังจากเสร็จการทำนาแล้ว  หลวงปู่  ได้ดั้นด้นเดินทางไปหาพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น  คือ  หลวงพ่อเดิม  วัดหนองโพ  เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ฆราวาส  ท่านเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมอยู่ 3 เดือน

   เมื่อท่านเรียน  วิทยาคมกับหลวงพ่อเดิม  พอสมควรแล้วท่านจึงกราบลาหลวงพ่อเดิม  เดินทางกลับบ้านทนี่ อ.ชุมแสง  เพื่อทำหน้าที่ผู้นำครอบครัวที่ดีตามเดิม

อุปสมบทครั้งที่สอง

        ในปี พ.ศ.2496  ขณะนั้น  หลวงปู่มีอายุที่ได้  46 ปี  แม่ของท่านเกิดป่วยหนักและได้เสียชีวิตลง  ท่านจึงตั้งใจจะบวชให้แม่  และได้โอกาสบวชตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่เดิม  ท่านบวชครั้งที่สอง  ที่วัดหนองกอไผ่  ต.วังสำโรง  อ.บางมูลนาก  จ.พิจิตร  โดยมี  พระครูวิเศษธรรมวิวิต  เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์บุญมา  วัดดงเย็น  เป็นพระกรรมวาจา  และพระอาจารย์แฟ้ม  วัดไข่เน่า  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ภายหลังที่ท่านบวชแล้วก็ตั้งอธิษฐานจิตว่า  จะไม่ขอสึกเด็ดขาด  จะตั้งใจปฏิบัติธรรมจนกว่าชีวิตจะหาไม่  และจะเดินธุดงค์ตลอดไป  เพื่อทำการสงเคราะห์สรรพสัตว์  จนกว่าสังขารจะไม่อำนวย  ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นจริงตามที่ท่านตั้งใจ  คือ  หลวงปู่  หยุดเดินธุดงค์เมื่อปี พ.ศ.2527  รวมเวลาที่ท่านเดินธุดงค์อยู่ 30 ปีเต็ม

แสวงหาอาจารย์กัมมัฎฐาน      หลังจากที่หลวงปู่บวชแล้ว  ท่านอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองกอไผ่ 1 พรรษา  พอออกพรรษาแล้วท่านก็กราบลาพระอุปัชฌาย์  เพื่อเดินทางไปหาอาจารย์สอนกัมมัฏฐาน  เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว  จึงออกเดินทางเรื่อยไป  ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเสาะแสวงหาอาจารย์ที่จะสอนธรรมปฏิบัติ  จนกระทั่งเดินทางมาถึงยังวัดเขาต้นงิ้ว  อ.หัวหิน  จ.ประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งก็เป็นเวลาใกล้เข้าพรรษา  จึงได้ขอจำพรรษาที่นั่น  เมื่ออยู่ได้ระยะหนึ่ง  ได้เห็นแนวปฏิบัติและได้สนทนากันเกิดความเลื่อมใสจึงได้ขอมอบตัวเป็นศิษย์ธรรมของ  หลวงพ่อก๋ง  วัดเขาต้นงิ้ว

แนวทางปฏิบัติธรรม  หลวงปู่เรียนกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อก๋ง  อยู่ 3 ปี  แนวทางการปฏิบัติของหลวงปู่นั้นคือ  ท่าใช้กำหนด  อานาปนสติ  คือดูลมหายใจเข้าออก  ซึ่งเป็นแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงดำเนิน  หรือเป็นแนวทางปฏิบัติที่  พระอริยเจ้าทั้งหลายดำเนินกันสืบมา  หลวงปู่เป็นพระที่ปรารภความเพียรมาก  คือ  หนึ่งท่านนอนเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น  นอกนั้นท่านจะปฏิบัติธรรมด้วยอริยบททั้ง 4 สลับกันไป  ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้  มิได้ขาดถึง 3 ปี  จนหลวงพ่อก๋ง  ออกปากร้องให้ท่านทำการสอนศิษย์แทน  แต่หลวงปู่ปฏิเสธ  หลังจากที่ท่านมีความชำนาญในการปฏิบัติดีแล้ว  หลวงปู่ก็ได้กราบลาหลวงพ่อก๋ง  อาจารย์สอน  ออกเดินทางต่อไป  เพื่อหาความวิเวก  และโปรดสรรพสัตว์ต่อไป

หลวงปู่สร้างวัดแรก

 

           ในปี  พ.ศ.2500  หลวงปู่ได้เดินธุดงค์มาพักที่  ถ้ำน้ำบัง  จ.เพชรบูรณ์  ซึ่งตอนนั้น  ยังเป็นป่ารกชัฏอยู่  ชาวบ้านนายมได้ทราบว่า  มีพระธุดงค์มาพักที่ ถ้ำน้ำบัง ซึ่งอยู่ไม่ห่างมากนัก  ต่างก็พากันเดินทางมาถวายอาหาร  และนิมนต์หลวงปู่ให้อยู่จำพรรษาที่วัดร้างแห่งหนึ่งที่บ้านนายม  วัดร้างแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบ  ชาวบ้านเล่ากันว่าผีที่นี่ดุนัก  เคยมีพระธุดงค์มาพัก  แต่อยู่ได้ไม่เกิน 3 คืน  ก็ไปกันหมด  เมื่อหลวงปู่ทราบอย่างนั้นก็อยากจะพิสูจน์  และอีกอย่างก็จวนที่จะเข้าพรรษา  ท่านจึงได้รับปากชาวบ้านที่จะอยู่จำพรรษาที่วัดร้างนั้น  ซึ่งชาวบานทั่วไปเรียนว่า  วัดเสาธงทอง

   หลังจากที่หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาแล้ว  คืนแรก ๆ ก็มีเสียงเหล็กแหลมดังมาก  รบกวนท่านอยู่ประมาณ 7 วัน  หลวงปู่ท่านก็เจริญธรรมแผ่เมตตาให้  หลังจากนั้น  เสียงนั้นก็ไม่มารบกวนกันเลย  ชาวบ้านจึงพากันเลื่อมใส  หลวงปู่อย่างมากที่สามารถ  ปราบผีร้ายได้  เพราะชาวบ้านตางหวาดกลัวมาก  ต่อมาเสียงของมัน  ซึ่งก่อนหน้าที่หลวงปู่จะมาอยู่นั้น  จะร้องดังหวีด ๆ เป็นประจำ  ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าเดินผ่าน  วัดร้างในตอนเย็น ๆ กันเลย

   พอออกพรรษาหลวงปู่ท่านลาญาติโยมเพื่อออกเดินทางหาความวิเวก  ชาวบ้านที่ทราบข่าวว่าหลวงปู่จะไปจากที่นั่น  พากันมาขอร้องให้หลวงปู่จำพรรษาที่นี่ตลอดไป  เพื่อเป็นเนื้อนาบุญของพวกเขา  หลวงปู่จึงรับปากชาวบ้าน  แต่ช่วงนี้ขอโอกาสไปเดินธุดงค์เพื่อให้เป็นไปตามปนิธานที่ตั้งไว้ก่อนแล้วจะกลับมาเมื่อใกล้เข้าพรรษา  หลวงปู่ปฏิบัติอย่างนี้ทุกครั้งเมื่อมีโอกาส

   วัดเสาธงทอง  ที่หลวงปู่จำพรรษาอยู่นี้  อยู่ไม่ไกลจากวัดช้างเผือกมากนัก  ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ทบ  ท่านจำพรรษาอยู่  สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอ  หลวงปู่ทบ  ได้ถ่ายทอดวิชาทุกอย่างให้หลวงปู่  และเป็นเพียงผู้เดียวที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด

 

   หลวงปู่ท่านได้รับความไว้วางใจให้ได้เป็น  เจ้าคณะตำบลนายม  และเป็นพระครูสัญญาบัตร  ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  หลวงปู่  พยายามขอลาออกตั้งหลายครั้งแต่ทางพระผู้ใหญ่ไม่อนุญาต  ให้หลวงปู่เป็นไปก่อนเพราะยังหาผู้ที่เหมาะสมไม่ได้  นี้แสดงว่า  หลวงปู่ไม่ได้ติดอยู่ในโลกธรรม  สมกับท่านเป็นยอดพระนักปฏิบัติแท้หลวงปู่สร้าง วัดซับข่อย

 

         ในปี พ.ศ.2516  มีญาติโยมชาวบ้าน  วังชมพู  เลื่อมใสในหลวงปู่  ได้มาที่วัดเสาธงทอง  ถวายที่ดินที่อยู่บนเนินเขา  เพื่อให้หลวงปู่ ทำการสร้างวัด  หลวงปู่พร้อมด้วย  พระอาจารย์เชิญ  น้องชายท่านและสามเณรยุวชน  และสามเณรบุญมา (ซึ่งตอนนี้เป็นพระมหายุวชน  อยู่ที่วัดน้อยนาพงษ์) พากันไปดูที่

   หลวงปู่เห็นว่า  ที่ดินอยู่บนเนินเขาเหมาะที่จะเป็นวัดจึงรับปากที่จะสร้างวัดที่บ้านวับข่อย  เดิมทีนั้นวัดซับข่อย  เป็นป่าไผ่  จึงสร้างที่อยู่เป็นกระต๊อบขึ้นมาหลังหนึ่ง  เพื่อเป็นที่อยู่ พอสร้างกุฏิขึ้นมา 2-3 หลัง  หลังเล็ก ๆ สำหรับพระนักปฏิบัติธรรม  หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์อีก  โดยได้ส่งพระที่วัดเสาธงทอง  มาอยู่โดยท่านเดินทางมาดูบ้างเป็นบางโอกาส  แต่ในพรรษาท่านจะอยู่จำพรรษาที่วัดเสาธงทองตามเดิม

   ในปี พ.ศ.2527  หลวงปู่ก็หยุดเดินธุดงค์  เพราะสังขารไม่อำนวย  และเป็นปีแรกที่หลวงปู่ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดซับข่อย  และอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

 

 

หลวงปู่มรณภาพ

 

          สิ่งทั้งหลายที่ก่อเกิดขึ้นมาในโลก  ล้วนต้องแตกสลายในที่สุด  นี่เป็นสัจธรรมของชีวิต  ไม่มีใครหลีกพ้น  ความตายไปได้  แม้ว่าจะประกอบคุณงามความดีมากน้อยเพียงใดก็ตาม

   ในวันที่ 29 มกราคม 2532  เวลาประมาณ  สี่ทุ่มเศษ  เป็นเวลาที่  บรรดาศิษย์ต่างพากันเศร้าสลด  เมื่อหลวงปู่ได้จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับ  เหมือนว่า  ร่มโพธิ์แก้วได้โค่นลงแล้ว  หมู่นกกาต่าง ๆ ก็หมดอาศัย

   การมรณภาพของหลวงปู่  มิได้เหมือนกับพระทั่วไป  คือ  หลวงปู่นั่งสมาธิมรณภาพ  แต่น่าเสียดายที่บรรดาลูกศิษย์  พากันจับท่านนอน  หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว  นับว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยแท้

   ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพหลวงปู่มีสติแจ่มใส  มั่นคงแม้ว่าจะถูกเวทนาครอบงำอย่างหนัก  ท่านใช้ขันติระงับเวทนากล้า  โดยมิได้แสดงอาการใด ๆ เลย  หลวงปู่กล่าวลาบรรดาศิษย์ที่ไปเฝ้า  อยู่ว่า  หลวงปู่ลาแล้วนะ  ขอให้ทุกคนจงเจริญ ๆ แล้วท่านก็นั่งเข้าสมาธิ  บรรดาศิษย์ที่ที่ได้ไปเฝ้าหลวงปู่ต่างพากันร้องไห้ระงมไป  หลวงปู่ท่านลืมตาขึ้นมาว่า  อย่าส่งเสียงดัง  อย่ารบกวนสมาธิ  หลวงปู่มันเป็นบาป  หลวงปู่ไปสบายแล้ว  แต่พวกเธอยังต้องลำบากอีกมาก  แล้วท่านก็หลับตาอีกครั้ง  คราวนี้ท่านเงียบสงบนิ่งไปเลย  นับว่า  หลวงปู่มรณภาพไม่เหมือนใคร  อนิจจา  เพชรเมืองเพชรบูรณ์ได้ดับล่วงไปแล้วอีกหนึ่งดวง

 

 

ศพหลวงปู่แสดงปาฎิหาริย์

 

           หลังจากที่หลวงปู่  มรณภาพไปแล้ว  บรรดาศิษย์ได้นำศพท่านใส่โลงแก้วไว้  แล้วนำไปประดิษฐานที่มณฑป  เป็นที่น่าแปลกคือ   ศพท่านไม่เน่าเปื่อย  และผมกับเล็บของท่านกลับงอกได้  แต่ที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง  คือ  ศพท่านไม่มีกลิ่นเลย  และศพท่านก็ไม่ได้ฉีดยาด้วย  อันนี้  ข้าพเจ้าขอยืนยันได้

   หลังจากหลวงปู่มรณภาพได้  7  วัน  ทางวัดต้องเปิดฝาโลงแก้วออก  เพราะว่าโลงมีฝ้าน้ำเกาะอยู่  แต่ที่น่าแปลกยิ่งกว่านั้น คือ   ไม่มีแมลงหรือมด  ไปรบกวนศพหลวงปู่เลย  ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้  ป้องกันอะไรเลย  ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยาไล่แมลง  หรือว่า  หาผ้ามาปิดกันแมลง  ก็ไม่ได้ทำสักอย่าง  ทางวัดเปิดฝาโลงแก้วทิ้งไว้อย่างนั้น  จนถึงวันทำบุญครบ 100 วัน  จึงเปิดฝาโลงแก้ว

   จึงเป็นปัญหาที่น่าคิดคือ  เพราะอะไร  ศพหลวงปู่  จึงไม่เน่า  ไม่เปื่อย  และไม่มีกลิ่นด้วย  และเพราะอะไร  จึงไม่มีสัตว์หรือแมลง  ไปรบกวนศพท่านเลย  น่าอัศจรรย์จริง ๆประสบการณ์ในการเดินธุดงค์

 

         หลวงปู่ท่านเดินทาง  ยังที่ต่าง ๆ ในเมืองไทย  และประเทศใกล้เคียง  คือ  ลาว  เขมร  พม่า  และมาเลเซีย  ในประเทศไทย  หลวงปู่ท่านชอบไปยังแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก  และทางภาคใต้ท่านบอกว่า  อากาศดี  ร่มรื่น  เต็มไปด้วยป่าไม้

   เมื่อถามถึงประสบการณ์ในการเดินธุดงค์  หลวงปู่กล่าวว่า  พระที่เดินป่าล้วนต้องมีประสบการณ์ด้วยกันทั้งนั้น  อย่าให้เล่าเลย  เดี๋ยวกลายเป็นว่าหลวงปู่  พูดอวดอุตริไป  มันเป็นบาปเปล่า ๆ

   หลวงปู่ท่านเป็นคนถ่อมตนไม่โอ้อวด  ท่านจะเล่าให้เฉพาะพระลูกศิษย์ที่เป็นนักปฏิบัติฟังเท่านั้น  นอกนั้นท่านจะไม่เล่าให้ฟังเลย  ท่านบอกว่า  พูดไปไม่ดี  ถ้าเขาเลื่อมใส  เขาก็สรรเสริญ  แต่ถ้าเขาไม่เลื่อมใส  เขาก็หาว่า  หลวงปู่พูดไม่จริง  แล้วจะเกิดโทษแก่คนฟังเปล่า ๆ สู้ไม่พูดดีกว่า

   แต่เรื่องประสบการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้  ข้าพเจ้าได้รับการถ่ายทอดจากพระลูกศิษย์ของท่านอีกทอดหนึ่ง  จึงทำให้ข้าพเจ้าได้รับข้อมูลอันนี้  ดังต่อไปนี้

 

 

หลวงปู่ได้ฉันข้าวทิพย์

 

          ครั้งหนึ่งหลวงปู่เดินทางไปแถบภูเรือ  แถวนั้นเป็นเทือกเขาที่สลับซับซ้อนมาก  ท่านเดินทางไปตามป่าเขาลำเนาไพร  เดินเรื่อยไป  เกิดหลงทางหาทางออกไม่ถูก  ท่านเดินทางอยู่ถึง 7 วัน  ก็ไม่พบบ้านที่ไหนเลย  เมื่อท่านหิว  ท่านจะใช้น้ำมาล้างบาตรแล้วอธิษฐานจิตดื่มน้ำพอประทังชีวิตไปวัน ๆ เมื่อถามว่า  ทำไมหลวงปู่ไม่ฉันผลไม้  ท่านกล่าวว่า  ไม่มีใครประเคน  ฉันไปก็เป็นอาบัติ  ถ้ากลัวตายไม่ต้องออกมาเดินธุดงค์  นอนอยู่วัดสบายกว่า

   ข้าพเจ้าลืมบอกไปว่า  หลวงปู่ท่านชอบไปองค์เดียว  เหมือนคำบาลีที่ว่า  เอกจวโร  ราชสีโห  วิยะ  ก่อนที่พระองค์จะส่งพระออกไป  ประกาศศาสนา  ว่า  จงท่องเที่ยวไป  คนเดียวดุจพญาราชสีห์  หลวงปู่ท่านก็ยึดคำสั่งอันนี้  จึงท่องเที่ยวไปผู้เดียว

   ทีนี้ขอกล่าวถึงเรื่องรางต่อ  หลังจากที่ท่าน  หลงทางถึง  7  วันแล้ว  ในวันที่ 7  เวลาพลบค่ำ  ขณะที่ปู่กำลัง  นั่งบำเพ็ญธรรมอยู่ที่หน้าถ้ำแห่งหนึ่งนั้น  ขณะที่กำลังพิจารณาสังขารอยู่นั้น  ก็ได้ยินเสียงเสือร้องดังลั่นป่าไปหมด  และมาร้องที่หน้าถ้ำ  หลวงปู่ท่านก็มิได้ตกใจกลัวแต่อย่างใด  ท่านแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์  และตั้งสัจอธิษฐานว่า  ถ้าเคยมีเวรมีกรรมต่อกัน  ก็ขอชดใช้เวรกรรมอันนั้น  ถ้าไม่เคยมีเวรกรรมต่อกันก็อย่ามาเบียดเบียนกันเลยแล้วท่านก็นั่งบำเพ็ญธรรมต่อ  เสือร้องคำรามอยู่สักพักหนึ่งก็จากไป  และคืนนั้นก็ไม่มีอะไรมารบกวนอีก

   พอวันรุ่งขึ้น  ก็มีคนผู้หนึ่ง  แต่งกายเป็นชาวบ้าน  แต่ว่ามีผิวกายไม่เหมือนชาวบ้าน  คอ  มีผิวพรรณสดใส  ค่อนข้างขาว  นำห่อข้าวมาถวาย  ข้าวก็ห่อด้วยใบตองธรรมดา  และไม่มีกับข้าวอะไร  หลวงปู่จึงถามว่า  อยู่ที่ไหน  เขาตอบว่า  เขาอยู่แถวนี้เอง  จึงรับประเคนห่อข้าวเปล่านั้น  หลังจากที่ท่านรับประเคนแล้ว  ชายคนนั้นก็ชี้ทางให้ท่านเดินว่า  ต้องไปทางทิศนี้จะพบหมู่บ้าน  แล้วก็ลาท่านกลับไป  หลังจากที่ชายคนนั้นกลับไปแล้ว  หลวงปู่ท่านจึงลงมือฉันข้าวเปล่า  หลวงปู่กล่าวว่า  ที่น่าแปลกคือ  ข้าวนั้นมีรสหอมหวานมาก  ยังไม่เคยได้ฉันที่ไหนมาก่อนเลย  หลังจากฉันข้าวแล้วท่านก็ออกเดินทางต่อไป  ท่านเดินทางมาอีก 7 วัน  จึงได้พบบ้านคน  ที่น่าประหลาดคือ  ตลอดเวลา 7 วัน  หลังจากได้ฉันข้าวเปล่าแล้วกลับไม่รู้สึกหิวอีกเลย

 

 

หลวงปู่ ผจญพญางู

 

          ครั้งหนึ่งหลวงปู่  เดินไปตามป่าเขาแถบจังหวัดเลย  วันหนึ่ง  ได้เข้าพักอาศัยถ้ำแห่งหนึ่ง  เพื่อหลบฝน  ในตอนกลางคืน  ขณะที่ท่านกำลังนั่งบำเพ็ญธรรมอยู่นั้น  ขณะที่จิตอยู่ในสมาธิมั่นดีอยู่นั้น  ท่านมารู้สึกตัวอีกก็ต่อเมื่อ  รู้สึกเย็นศรีษะ  และรู้สึกเจ็บที่ชายโครง  ลมหายใจ  ติดขัด  เหม็นคาว  คละคลุ้งไปหมด  ท่านจึงรู้ว่า กำลังถูกพญางูกลืนลงไปแล้ว  แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงอาการตกใจ  หรือหวาดกลัวเลย  ท่านนั่งนิ่ง  สำรวมจิตแผ่เมตตาและตั้งจิตอธิษฐานแล้ว  พญางูค่อย ๆ คายท่านออกแล้วจากไป

   จึงเรียนถามท่านถึงเรื่องนี้  ท่านบอกว่า  ไม่จริงหรอก  ไม่ใช่งูหรอก  เขาลองใจเราดูต่างหากว่า  เราจะจริงจังขนาดไหน

 

 

 

หลวงปู่ผจญโขลงช้าง

 

           คราวหนึ่งหลวงปู่เดินทางไปแถบชายแดนเขมร  ขณะที่ท่านกำลังนั่งพักร้อน  ที่ข้างลำห้วยแห่งหนึ่งก็ได้มี  โขลงช้างใหญ่มาก  หลายสิบเชือก  ตัวหน้าหน้ามีงายาวมากจนแทบติดดินและตัวก็ใหญ่กว่าตัวอื่น  พวกบริวารช้าง  เมื่อมองเห็นหลวงปู่  ก็พากันร้องแปร๋น ๆ เข้ามาหา  ทำร้ายหลวงปู่  ท่านนั่งสำรวมจิตแผ่เมตตาให้  ยังไม่ทันที่พวกบริวารช้างจะเข้ามาถึง  ช้างตัวหัวหน้าโขลงก็ยืนขวางหน้าไว้  พวกช้างบริวาร  จึงถอยกลับ  แล้วช้างหัวหน้าก็หันหน้าเข้ามาทางหลวงปู่นั่ง  แล้วยกงวงชูผงกหัว  3  ครั้ง  คล้ายกับการทำความเคารพ แล้วก็พาบริวารจากไป

 

 

เสือสองตัวมานอนเฝ้า

 

           ที่ภาคใต้แถบเทือกเขาสามร้อยยอด  หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ไป  พบกับเสือใหญ่คู่หนึ่ง  พบครั้งแรก  ท่านนึกว่า  มันจะเข้ามาทำร้าย  แต่เปล่าเลย  พวกมันมานอนที่นอกกลดเป็นเช่นนี้หลายคืน  พอท่านเดินทางต่อไปทางใต้ในตอนกลางวัน  พอท่านพักปักกลดที่ไหน  ตกตอนกลางคืนเสือทั้งคู่ก็มานอนอยู่ที่นอกกลดของหลวงปู่อีก  คล้ายกับว่า  จะคอยอารักขาท่าน  หลวงปู่บอกว่า  ท่านเดินทางไปทางใต้ทีไร  พอถึงที่แถบนั้น  ท่านก็จะมาพบเสือทั้งคู่มานอนเฝ้าท่านเป็นกชประจำ  จนหลวงปู่กับเสือทั้งสองรู้สึกสนิทสนมกันเป็นพิเศษ  หลวงปู่กล่าวว่ามันแสนรู้  สงสัยคงจะเกิดเป็นศิษย์วัดมาก่อน  หลวงปู่กับเสือทั้งสองคล้ากับว่า  มีความผูกพันกันมาในอดีตชาติ  ท่านกล่าวว่า  มันเชื่องมากขนาดจับหัวลูบหลังเล่นได้เลย

   เมื่อปี 2516  น.ส.พ.ลงข่าวว่ามีคนยิงเสือใหญ่ตาย  เพราะมันออกมาข้างถนนใหญ่แถบนั้น  พอหลวงปู่ทราบข่าวว่า  เสือที่คุ้นเคยกับท่านถูกยิงตาย  ท่านสลดใจมาก  กล่าวว่าคนใจบาป  ไม่น่าที่จะทำมันเลย  และคืนนั้นทั้งคืน  หลวงปู่ได้นั่งบำเพ็ญธรรมตลอดคืน  เพื่ออุทิศให้กับเสือที่ถูกยิงตายนั้นวัตถุมงคลและปาฏิหาริย์ต่างๆ

 

         จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่  หลวงปู่  ท่านทำวัตถุมงคลอะไรก็ขลัง  และดังก่อปาฏิหาริย์ต่าง ๆ นั้นเป็นเพราะว่า  หนึ่งหลวงปู่มีอาจารย์ดีที่โด่งดังถึงสามองค์  คือ  หลวงพ่อสาย  วัดพยัคฆาราม  หลวงพ่อเดิม  วัดหนองโพ  และหลวงพ่อทบ  วัดช้างเผือก  อีกประการหนึ่ง  คือ  หลวงปู่เป็นพระสุปฏิปันโนท่านดำเนินตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างเคร่งครัด  มิได้ขาด

   วัตถุมงคลที่ท่านทำขึ้นมีหลายอย่าง  เช่น  สีผึ้ง  น้ำมันมนต์  เหรียญ  พระผงผสมว่าน  พระสมเด็จ  พระปิดตา  รูปหล่อ  และตระกรุด  เป็นต้น  แม้กระทั่งน้ำมนต์ท่านก็ขลัง  ใครปรารถนาอะไรก็สำเร็จ  ข้าพเจ้าจะขอเล่าถึงอภินิหารต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้เพียงเล็กน้อย  ดังต่อไปนี้

   เมื่อปี พ.ศ. 2520  หลวงปู่ทำการสร้างอุโบสถที่วัดเสาธงทอง  ในคืนวันที่ทำการตัดลูกนิมิตนั้น  ขณะที่ทำการตัดลูกนิมิตอยู่นั้น  ซึ่งเป็นเวลาเที่ยงคืน  ก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดคือ  แผ่นดินร้องลั่นสั่นสะเทือนดังมาก  จนทำให้ชาวบ้านในตลาดนายมได้ยินกันทั่วไป  ได้ถามถึงสาเหตุกับหลวงปู่  ท่านยิ้มก่อนที่จะตอบว่า  ไม่มีอะไรหรอก  เจ้าของที่เขาอนุโมทนาส่วนบุญ  และในวันที่  หลวงปู่  เบิกพระเนตรพระประธานในอุโบสถ  ก็เกิดเหตุมหัศจรรย์อีกคือ  มีลมพายุใหญ่พัดประมาณ 30 นาทีแต่ไม่มีฝน  จนหลวงปู่ต้องยืนออกไปโบกมืออยู่สักครู่ก็หาย  และทันทีที่พายุสงบลง  ก็ปรากฏว่ามีสายรุ้ง  พวย       พุ่งขึ้นจากองค์พระประธาน  ซึ่งผู้ที่มาร่วมพิธีต่างเห็นกันมากมาย  นับว่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง

   ส่วนเหรียญรุ่นแรก ที่สร้างใน  พ.ศ.2521  นั้น  ก่อปาฏิหาริย์มากมาย  แก่ผู้ที่มีไว