ท้าวกุเวร ผู้ประทานโชคลาภและความมั่งคั่ง

ท้าวกุเวร

200 ฿
9999on-order.gif
ท้าวกุเวร
คำอธิบาย

ท้าวกุเวรมหาราช (พระธนบดีศรีธรรมราช) ผู้ประทานโชคลาภและความมั่งคั่ง

พระธนบดีศรีธรรมราช (เจ้าแห่งโชคลาภ) จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจำลองแบบมาจากรูปหล่อท้าวกุเวรเจ้าแห่งขุมทรัพย์ที่สร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พระธนบดี พระกุเวร พระรัตนครรภ์ เจ้าพ่อขุมทรัพย์ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ โบราณถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่มีหน้าที่ประทานความมั่งคั่ง ความมีโชคดีให้กับผู้บูชาท้าวกุเวร เป็นเทพผู้รักษาทิศเหนือ ตามลัทธิศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ประวัติของท้าวกุเวรกล่าวไว้ว่า พระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นเวลาหลายพันปี จนพระพรหมทรงเห็นใจโปรดให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง

จากมหากาพย์รามายณะกล่าวว่า เทพกุมาร ได้รับยานที่ขับเคลื่อนไปในอากาศได้ตามประสงค์ของเจ้าของคือ บุษบก บางตำรากล่าวว่าท้าวกุเวรมีม้าสีขาวเป็นพาหนะ มีมเหสีนาม จารวี หรือ ฤทธี มีโอรส 2 องค์ ชื่อ มณีครีพ หรือ วรรณกวี กับ นุลกุพล หรือ มยุราช มีธิดา 1 องค์ชื่อ มีนากษี ในรามเกียรติ์กล่าวว่า ท้าวกุเวรทรงเป็นบิดาคันธมาทน์ นายทหารของพระราม และมีสวนชื่อเจตรถ อยู่บนยอดเขามันทร ท้าวกุเวรยังมีชื่อเรียกตามเรื่องราวและคุณสมบัติอีกหลายชื่อ เช่น กุตนุ (มีรูปร่างน่าเกลียด) รัตนครรภ (มีเพชรเต็มพุง) ราชราช (เจ้าแห่งราชา) นรราช ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ยักษราช (เจ้าแห่งยักษ์) รากชเสนทร์ (เป็นใหญ่ในพวกรากษส) ฯลฯ

ตามเรื่องรามเกียรติ์ เรียกชื่อท้าวกุเวรว่าท้าวกุเปรัน แต่ชื่อที่คนไทยคุ้นเคย คือ ท้าวเวสสุวัณ (สันสกฤต-ไวศรวณบาลี-เวสสวณ) ในคัมภีร์ไตรเพท กล่าวว่า ทรงเป็นอธิบดี ของพวกอสูร รากษสและภูติผี ในกลุ่มพวกนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายานในประเทศจีนกล่าวว่า โลกบาลทิศอุดร มีชื่อว่า "โตบุ๋น" แปลว่า "ได้ยินทั่วไป" มีพวกยักษ์เป็นบริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ส่วนพวกธิเบตกล่าวว่าถือธงและพังพอน สีกายเป็นสีทองคำ ในประเทศญี่ปุ่นถือว่า โลกบาลทิศนี้เป็นเทพเจ้าประจำโชคลาภมีนามว่า "พิสะมอน" ตรงกับนามว่า "ธนบดี" หรือ ธเนศวร อันเป็นนามหนึ่งของท้าวกุเวร แปลว่า เป็นเจ้าใหญ่แห่งพชทรัพย์ ส่วนหนึ่งของที่ถือนั้น มีแก้วมณีกับทวนหรือธง

ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิวัชรยานในคัมภีร์สาธนมาา กล่าวถึงท้าวกุเวรว่ามีหน้าที่เป็นทั้งธรรมบาลคือ ผู้มีตำแหน่งเทียบเท่าพระโพธิสัตว์ มีหน้าที่ทำสงครามปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อพระพุทธศาสนา ทรงเป็นโลกบาล (มีชื่อว่า เวสสุวัณหรือไวศรวีณ) คือ เทพผู้มีหน้าที่ปกป้องทิศทั้ง 4 (เฉพาะทิศเหนือ) อยู่บนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และคอยเฝ้าคอยดูแลทางเข้าสวรรค์ (ดินแดนสุขาวดี)

ในคัมภีร์ภาษาบาลีที่จัดอยู่ในหมวดโลกศาสตร์ ซึ่งปราชญ์ทางด้านพุทธศาสนาโบราณได้แต่งไว้ เท่าที่มีการค้นพบมีด้วยกันแปดเรื่อง หนึ่งในแปดเรื่องคือ โลกสัณฐานโชตรคนคัณฐี อันมีเนื้อหากล่าวถึงกำเนิดจักรวาลและภพภูมิต่างๆ การนับอสงไขย เรื่องของพระอาทิตย์ พระจันทร์ กลุ่มดาวนักษัตรทั้ง 27 และหลักของไตรลักษณ์ อันเป็นเครื่องเตือนสติให้บุคคลประพฤติอยู่ในคุณงามความดี

ได้กล่าวไว้ว่า รอบเขาพระสุเมรุ ทั้ง 4 ทิศ มีเทวดาชั้นจตุมหาราชิกาประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ หรือที่รู้จักดีในนามของจตุโลกบาล องค์ที่เป็นใหญ่ในทิศเหนือ มีนามว่าท้าวเวสสุวรรณ หรือ เจ้าแห่งยักษ์ ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ( สรวง ศรีเพ็ญ ) พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2474 ได้กล่าวถึงเรื่องจตุโลกบาล และเรื่องราวของท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า เป็นใหญ่ในทิศเหนือ มีด้วยกันหลายนาม เช่น

  • ท้าวกุเวร ธนบดี ( เป็นใหญ่ในทรัพย์ ) 
  • ธเนศวร ( เจ้าแห่งทรัพย์ ) 
  • อิจฉาวสุ ( มั่งมีได้ตามใจ ) 
  • ยักษ์ราช ( ราชาแห่งยักษ์ ) 
  • กุตนุ ( มีรูปร่างน่าเกลียด หมายถึงยักษ์ที่มีหน้าตาดุ นั่นเอง ) 
  • รัตนครรภ ( มีเพชรเต็มพุง ) 
  • ราชราช ( ราชะราชเจ้าแห่งราชา ) 
  • นรราช ( เจ้าคน ) ฯลฯ

ในคาถาบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภของพุทธตันตระฝ่ายมหายาน มีดังนี้ “โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ